"โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์" เผยข้อมูลเรื่อง "โรคเนื้องอกต่อมใต้สมอง" ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม พร้อมแนะนำวิธีการรักษา

เว็บไซต์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เผยแพร่บทความเกี่ยวกับเรื่อง "โรคเนื้องอกต่อมใต้สมอง" โดยระบุว่า ต่อมใต้สมอง เป็นต่อมขนาดเล็กเท่าเมล็ดถั่ว ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนซึ่งทำหน้าที่ควบคุมระบบการทำงานของร่างกาย ประกอบด้วย ฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโต ฮอร์โมนควบคุมการสร้างน้ำนม ฮอร์โมนควบคุมการทำงานของต่อมเพศ ต่อมไทรอยด์และต่อมหมวกโต เมื่อเกิดเนื้องอกจะทำให้เกิดความผิดปกติ มีอาการดังนี้

  • เกิดอาการปวดศีรษะ หรือกดทับเส้นประสาทสมอง ทำให้เกิดความผิดปกติในการมองเห็น และตาบอดในที่สุด
  • ความผิดปกติของฮอร์โมนแต่ละชนิดของเนื้องอก เช่น เนื้องอกของฮอร์โมนที่ควบคุมการเจริญเติบโต ทำให้ตัวสูงผิดปกติ มือเท้าใหญ่ คางยื่น เนื้องอกของฮอร์โมนที่ควบคุมการสร้างน้ำนม ทำให้น้ำนมไหล ประจำเดือนผิดปกติ เป็นต้น นอกจากนี้ เนื้องอก อาจกดเบียดส่วนที่สร้างฮอร์โมนทำให้เกิดภาวะการขาดฮอร์โมน เช่น ความต้องการทางเพศลดลง ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ

วิธีการรักษา

  • การผ่าตัดผ่านจมูก ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงในการรักษาให้หายขาด เกิดภาวะแทรกซ้อนน้อย กรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ทั้งหมด อาจต้องใช้วิธีรังสีรักษา
  • เนื้องอกต่อมใต้สมองบางชนิดสามารถรักษาด้วยยาได้ เช่น เนื้องอกที่สร้างฮอร์โมนโปรแลคติน.

...


ขอบคุณเว็บไซต์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย