เพจช่างภาพ ตั้งข้อสังเกต ภาพถ่าย "แตงโม" กับวิวไฟสะพานพระราม 8 จากมือถือ "กระติก"
จากกรณี โลกโซเชียล มีการตั้งข้อสังเกตหลังจาก กระติก ผู้จัดการส่วนตัวของ แตงโม นำภาพในโทรศัพท์มือถือมายืนยันไทม์ไลน์ ซึ่งมีภาพที่แตงโม และกระติกถ่ายคู่กัน ด้านหลังเป็นสะพานพระราม 8 ระบุเวลา 21.56 น. แต่สะพานพระราม 8 มีการปิดไฟอัตโนมัติในเวลา 21.00 น. ทำให้หลายคนสงสัยว่า มีการปรับเปลี่ยนเวลาหรือไม่
วันที่ 3 มีนาคม 65 เกี่ยวกับเรื่องนี้ เฟซบุ๊กเพจ "ช่างภาพชื่อดังฐานะร่ำรวย" ได้ลองวิเคราะห์และตั้งข้อสันนิษฐานกับรูปที่เป็นประเด็นกันในมุมมองของช่างภาพและการแต่งรูป ว่าหากไฟสะพานปิดแล้ว ทำไมในภาพของกระติก ยังดูเหมือนว่า ไฟสะพานยังติดอยู่
โดยยกภาพตัวอย่างจาก เที่ยงวันทันเหตุการณ์ ที่มีการเอา 2 รูปมาเทียบกัน ฝั่งหนึ่งถูกถ่ายในเวลา 2 ทุ่ม (ก่อนไฟสลิงปิด) สังเกตว่าไฟสลิงจะสว่างมาก สว่างแบบยาวและเท่ากันทั้งเส้น
ส่วนรูปที่เป็นประเด็น ถูกถ่ายในช่วงเวลาที่ไฟสลิงถูกปิดไปแล้ว แต่ไฟเสาสะพานยังถูกเปิดอยู่ สังเกตว่าไฟสลิงจะไม่สว่างเท่ากับอีกรูป แต่ก็ยังพอมีแสงสว่างอยู่ ตรงนี้สลิงอาจจะเกิดแสงได้จากการสะท้อนมาจากแหล่งกำเนิดแสงอื่นๆ เช่นไฟจากเสาสะพาน ซึ่งทางกระติก เองบอกกับพี่หนุ่ม กรรชัยว่า ภาพนี้ถูกถ่ายด้วย Night Mode ซึ่งข้อสันนิษฐานอาจจะมีความเป็นไปได้ที่ AI ในมือถือจะช่วยเร่งให้ไฟตรงสลิงให้มีความชัดเจนและสว่างมากกว่าเดิม
แล้วสมมติว่า ภาพนี้ต้นฉบับจริงๆ แล้ว สลิงไม่มีไฟเลย แบบสลิงมืดไปเลย จะสามารถแต่งรูปเพื่อช่วยเร่งแสงตรงสลิงได้ไหม ถ้าเป็นการแต่งแบบปกติเช่นการดึงแสง เพิ่ม highlight / shadow มันเป็นไปไม่ได้เลยที่ไฟสลิงจะสว่างขึ้นมาได้ นอกจากจะไปรีทัชไฟสลิงแยกอีกที ซึ่งจำนวนเลเยอร์ที่จะต้องทำ ก็นับไปตามจำนวนเส้นสลิงว่ามีกี่เส้น ขนาดช่างภาพสาย Landscape ที่คุ้นชินกับการซ้อนร้อยเลเยอร์ยังไม่อยากทำเลย
เอาจริงๆ การพิสูจน์ประเด็นนี้มันง่ายมากเลยนะ แค่เอามือถือรุ่นเดียว ไปถ่ายรูปในมุมและช่วงเวลาเดียวกัน ใช้ Mode ถ่ายภาพเหมือนกัน แล้วเอารูปมาเทียบกันว่าผลลัพธ์มันออกมาตรงกันไหม
นอกจากนี้ ยังบอกด้วยว่า เราไม่สามารถเอาการแสดงผลภาพจากกล้องชนิดอื่น หรือสายตาเราในสถานที่จริง ไปเทียบกับการแสดงผลในกล้องมือถือได้เลย เพราะการปรุงแต่งด้วย AI สมัยนี้มันฉลาดมาก พูดง่ายๆ คือ มันปรุงจนบางรูปขัดกับความเป็นจริง ขัดกับสายตาที่เรามอง
...
ซึ่งอย่างที่บอกไป การพิสูจน์ประเด็นนี้มันง่ายมากเลย แค่เอามือถือรุ่นเดียว ไปถ่ายรูปในมุมและช่วงเวลาเดียวกัน ใช้ Mode ถ่ายภาพเหมือนกัน แล้วเอารูปมาเทียบกันว่าผลลัพธ์มันออกมาตรงกันไหม
และว่าหากโพสต์นี้ไปขัดกับความเชื่อของใคร อย่าเพิ่งดราม่า เพราะเป็นแค่การวิเคราะห์และตั้งข้อสันนิษฐานในมุมมองของช่างภาพและการแต่งรูปเท่านั้น.
ที่มาจาก เฟซบุ๊ก ช่างภาพชื่อดังฐานะร่ำรวย