ในแต่ละคืน นักดาราศาสตร์ทั่วโลกใช้กล้องโทรทรรศน์บนพื้นดินค้นหา “วัตถุใกล้โลก” หรือ “เอ็นอีโอ” (Near–Earth Object–NEO) ใหม่ๆ เพื่อระบุลักษณะรูปร่างและยืนยันว่าพวกมันไม่เป็นอันตรายต่อโลก ทว่ากล้องโทรทรรศน์เหล่านี้สามารถค้นหา “เอ็นอีโอ” ได้เฉพาะในท้องฟ้ายามค่ำคืนเท่านั้น
แต่จะได้ผลดียิ่งขึ้นหากมีกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้สังเกตการณ์ได้ทั้งกลางวันและกลางคืน ซึ่งความพยายามป้องกันดาวเคราะห์ที่อาจเป็นภัยคุกคามโลก ทำให้องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือองค์การนาซา อนุมัติสร้างกล้องโทรทรรศน์อวกาศ Near-Earth Object Surveyor (NEO Surveyor) ไปเมื่อเร็วๆนี้ ด้าน ไมค์ เคลลี่ นักวิทยาศาสตร์โครงการ NEO Surveyor เผยว่า กล้องโทรทรรศน์อวกาศตัวใหม่นี้จะมีความสามารถในการเร่งอัตราการค้นพบดาวเคราะห์น้อยและดาวหางที่อาจเป็นภัยคุกคามโลกได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะดวงที่อยู่ภายในรัศมีเกือบ 50 ล้านกิโลเมตรจากวงโคจรโลก อีกทั้งกล้องถูกออกแบบมาให้บรรลุเป้าหมายในการค้นพบดาวเคราะห์น้อย 90% ที่มีขนาด 140 เมตร
ทั้งนี้ การค้นหาของ “เอ็นอีโอ” ใกล้กับทิศทางของดวงอาทิตย์นั้น กล้อง NEO Surveyor จะช่วยให้นักดาราศาสตร์ค้นพบวัตถุอวกาศที่อันตรายจากท้องฟ้าในเวลากลางวัน ทั้งยังช่วยเพิ่มความสามารถของนาซา ในการกำหนดขนาดและลักษณะเฉพาะของ “เอ็นอีโอ” ที่ค้นพบใหม่อย่างมีนัยสำคัญโดยใช้แสงอินฟราเรด ซึ่งจะเสริมการสังเกตการณ์อย่างต่อเนื่องของหอสังเกตการณ์และเรดาร์บนพื้นดิน.
(Credit : NASA/JPL-Caltech)