การทำความเข้าใจความสำคัญของภูเขาไฟระเบิดช่วงยุคต้นของดาวอังคาร จะช่วยขยายความเข้าใจถึงการสะสมของน้ำในหินหนืด รวมถึงความอุดมสมบูรณ์ของน้ำใต้ดิน และความหนาของชั้นบรรยากาศดาวอังคาร เนื่องจากการระเบิดของภูเขาไฟเกิดขึ้นเมื่อก๊าซอย่างไอน้ำ เกิดการละลายในหินหนืดใต้ดิน เมื่อความดันของก๊าซที่ละลายนั้นมากกว่าก้อนหินด้านบน ก็จะทำให้หินที่กักมันไว้ที่ด้านบนระเบิดกลายเป็นเถ้าถ่านและลาวาไฟ นักวิทยาศาสตร์คิดว่าการปะทุดังกล่าวน่าจะเกิดขึ้นเร็วมากในดาวอังคารยุคโบราณ

เมื่อเร็วๆนี้มีการวิจัยใหม่ของนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยบราวน์ ในสหรัฐอเมริกา หลังจากได้ใช้ภาพความละเอียดสูงที่ได้จากยานสำรวจดาวอังคารขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือองค์การนาซา เพื่อสำรวจทางธรณีวิทยาในภูมิภาคที่เรียกว่า Nili Fossae ที่นักวิทยาศาสตร์สนใจมาเนิ่นนาน ซึ่งเป็นพื้นที่มีรอยแตกลึกของดาว ทว่าอุดมไปด้วยแร่โอลิวีนสีเขียวมะกอกที่พบเป็นปกติในดาวเคราะห์ ชี้ให้เห็นว่าการสะสมของแร่มาจากใต้ดินที่ลึก แต่ไม่ชัดเจนว่ามันขึ้นถึงพื้นผิวได้อย่างไร นักวิทยาศาสตร์บางคนสันนิษฐานว่าน่าจะมาจากการไหลของลาวา หรือบางคนก็ว่ามันปะทุขึ้นมาจากการกระทบของดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่

แต่การวิจัยใหม่แสดงให้เห็นว่าการสะสมของแร่แปลกๆบนดาวอังคารน่าจะเกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟโบราณ เพราะการกระจายตัวของแร่สอดคล้องกับการไหลของลาวามากกว่า ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าข้อมูลใหม่ๆนี้จะช่วยรวบรวมลำดับเวลาของกิจกรรมภูเขาไฟและสภาพแวดล้อมบนดาวอังคารยุคแรกได้.

ภาพจาก : NASA / Christopher Kremer/Brown University