สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (UniNet) เผยบทบาท การเป็นฮับด้านการศึกษาและโครงข่ายวิจัย เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
เมื่อวันที่ 13 ต.ค.61 รศ.สมศักดิ์ มิตะถา ผอ.สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (UniNet) กล่าวว่า อีกหนึ่งบทบาทของ UniNet คือการเป็นฮับด้านการศึกษาและโครงข่ายวิจัย ซึ่งปัจจุบัน UniNet นอกเหนือจากการให้บริการสื่อสัญญาณเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่เชื่อมต่อเข้าใช้สารสนเทศและแหล่งข้อมูลทั่วโลกแล้ว ยังเป็นแหล่งสารสนเทศและแหล่งจัดเก็บข้อมูลทางการศึกษาและการวิจัยขนาดใหญ่ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต UniNet เป็นเครือข่ายเดียวในประเทศไทยที่เชื่อมต่อตรงกับเครือข่ายเพื่อการศึกษาวิจัยกับประเทศอื่นทั่วโลก โดยมีการทำความร่วมมือระหว่าง UniNet กับ ThaiSarn (Thai Social/Scientific Academic and Research Network) เพื่อเชื่อมโยงกับเครือข่ายเพื่อการศึกษาวิจัยไทยในนาม ThaiREN (Thai Research and Education Network)

รศ.สมศักดิ์ กล่าวต่อว่า “ThaiREN เกิดจากการเชื่อมโยงเครือข่ายเข้ากับเครือข่ายเพื่อการศึกษาวิจัย TEIN ของสหภาพยุโรปและเอเชีย และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาวิจัยของประเทศญี่ปุ่น (JGN) ที่ขนาดความเร็ว 1 กิกะบิตต่อวินาทีของแต่ละเครือข่ายซึ่งเป็นโครงข่ายที่ประเทศต่างๆ นิยมใช้ ทำให้เกิดชุมชนทางด้านการศึกษาวิจัยเพื่อให้คนไทยได้ศึกษาผลงานวิจัยจากต่างประเทศ นับเป็นหนึ่งในพันธกิจของ UniNet ในการใช้เครือข่ายเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ด้านการศึกษาวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพที่ผ่านมามีการใช้โครงข่ายดังกล่าวในการเรียนการสอนระหว่างสถาบันการศึกษาในกลุ่มสมาชิก UniNet เช่น การใช้งานระบบประชุมทางไกลเพื่อการสาธิตผ่าตัด, การประชุมและการวินิจฉัยของคณาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลในประเทศไทยกับคณาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาคณะแพทยศาสตร์จากโรงพยาบาลในต่างประเทศ ฯลฯ กิจกรรมดังกล่าวมีความต้องการใช้ระบบสื่อสารที่มีความเร็วสูง ซึ่ง UniNet ก็พร้อมให้บริการกับสมาชิกอย่างต่อเนื่องนอกจากนี้ UniNet ยังได้วางระบบการประชุมที่ผู้เข้าร่วมประชุมใช้งานต่างระบบกัน (MCU) Microcontroller Unit แต่สามารถประชุมหรือดำเนินกิจกรรมร่วมกันได้ เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการจัดประชุม การเรียนการสอน หรือการปรึกษาหารือ ไม่เพียงแต่การจัดระบบโครงข่ายเพื่อกิจกรรมต่างๆ เท่านั้น.
...