ศูนย์เกษตรหนึ่งใจ กองงาน "หนึ่งใจ...ช่วยเหลือเกษตรกร" มูลนิธิมิราเคิล ออฟไลฟ์ โครงการตามพระดำริ ในพระองค์ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ศูนย์ทรัพยากรจุลินทรีย์ เพื่อนพึ่ง (ภาฯ)-ศวท. มูลนิธิอาสา เพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย และ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้น้อมนำแนวพระราชดำริหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ถอดบทเรียนจากผลงานวิจัยเรื่อง "การผลิตก๊าซหุงต้มจากผักตบชวา ด้วยจุลินทรีย์ธรรมชาติศักยภาพสูง" ซึ่งได้รับรางวัลผลงานวิจัย จากสภาวิจัยแห่งชาติ รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประเภทรางวัลประกาศเกียรติคุณ ประจำปี 2558-2559 จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกันจัดโครงการ การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง สถานีผลิตก๊าซหุงต้มจากผักตบชวา ระดับครัวเรือนและระดับวิสาหกิจชุมชนขึ้น โดยความร่วมมือจากพันธมิตรหลายภาคส่วน ได้แก่ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษารังสิตใต้ สำนักงานที่ 11 กรมชลประทาน หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 34 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย และโครงการจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยและนวัตกรรม วช.
พ.อ.กฤตพันธุ์ รักใคร่ ที่ปรึกษา ศูนย์เกษตรหนึ่งใจ กองงาน "หนึ่งใจ...ช่วยเหลือเกษตรกร" มูลนิธิมิราเคิล ออฟ ไลฟ์ฯ และ ผู้บังคับหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 34 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย กล่าวว่า ตนได้ร่วมกับ นายชัชชม ชมประดิษฐ์ ผู้อำนวยการส่วนบริหารจัดการน้ำ สำนักงานชลประทานที่ 11 กรมชลประทาน นายพฤทธิพงศ์ ทัศน์อัญชุลีกุล ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษารังสิตใต้ สำนักงานที่ 11 กรมชลประทาน ได้จัดกิจกรรม การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง สถานีผลิตก๊าซหุงต้มจากผักตบชวา ระดับครัวเรือนและระดับวิสาหกิจชุมชน ขึ้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษารังสิตใต้ สำนักงานที่ 11 กรมชลประทาน โดยเป็นการอบรม ให้แก่ หัวหน้าหน่วยงานทั้ง 5 ฝ่ายส่งน้ำ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับกระบวนการผลิตก๊าซหุงต้มจากผักตบชวา เนื่องจากผักตบชวาเป็นปัญหารบกวนระบบชลประทานมาอย่างยาวนาน ในระหว่างนี้ยังไม่สามารถกำจัดผักตบชวาให้หมดสิ้นไปจากระบบนิเวศน์ การนำมาใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนเป็นพลังงานทดแทน ซึ่งจะช่วยให้ผักตบชวาลดจำนวนลง และ ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานในครัวเรือนของเกษตรกรได้ เดือนละ 300-500 บาท
...

พ.อ.กฤตพันธุ์ กล่าวว่า หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 34 จ.พิษณุโลก ได้จัดตั้งสถานีก๊าซผักตบชวา ระดับครัวเรือนและระดับวิสาหกิจชุมชน ขึ้นตั้งแต่มกราคม 2559 ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันได้มีผู้สนใจเข้ามาศึกษาดูงานจำนวนมาก มีการออกหน่วยเคลื่อนที่ไปอบรมให้ประชาชน และมีการไปจัดตั้งสถานีฯ ในชุมชน หรือโรงเรียน ซึ่งกำลังพลของนพค. 34 มีความภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการทำกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์ ให้แก่พี่น้องประชาชน ผ่าน มูลนิธิมิราเคิล ออฟไลฟ์ฯ และ มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย
รศ.ดร.จุรีย์รัตน์ กล่าวว่า ทีมวิจัยได้ประสบความสำเร็จในการวิจัย โดยได้ค้นพบจุลินทรีย์ธรรมชาติศักยภาพสูง ที่สามารถย่อยผักตบชวา ได้ผลผลิตเป็นก๊าซหุงต้ม หรือก๊าซชีวภาพ ทั้งนี้ คาดหวังว่าโครงการนี้จะเป็นแหล่งเรียนรู้สำคัญของประชาชนในภูมิภาคดังกล่าว และเป็นกำลังสำคัญในการเปลี่ยนผักตบชวาเป็นก๊าซหุงต้มที่เข้มแข็งต่อไป เมื่อใดที่ต้องการก๊าซหุงต้ม เมื่อนั้นเกษตรกรสามารถผลิตก๊าซชีวภาพใช้ได้เอง

นายพฤทธิพงศ์ ในฐานะผู้จัดโครงการ กล่าวว่า รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีการจัดกิจกรรมอบรม "สถานีก๊าซหุงต้มจากผักตบชวา" ซึ่งโครงการฯ ได้วางแผนดำเนินการและมีความร่วมมือกันมาระยะหนึ่งแล้ว เนื่องจากเป็นโครงการที่มีประโยชน์
ผู้สนใจองค์ความรู้เรื่อง การผลิตก๊าซหุงต้มจากผักตบชวา ด้วยจุลินทรีย์ธรรมชาติศักยภาพสูง หรือสนใจองค์ความรู้ด้านต่างๆ ทางการเกษตร ติดต่อสอบถามได้ที่ รศ. ดร. จุรีย์รัตน์ ลีสมิทธิ์ รองผู้อำนวยการ ศูนย์เกษตรหนึ่งใจ กองงาน "หนึ่งใจ...ช่วยเหลือเกษตรกร" มูลนิธิมิราเคิล ออฟ ไลฟ์ฯ

คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จ.นครปฐม 73140 อีเมล์ molku@ku.ac.th