“แสวง” เลขาฯ กกต.ยัน ขั้นตอนเลือก สว.โปร่งใส ประชาชน-สื่อฯ ร่วมสังเกตการณ์จาก CCTV ชี้ วิธีการเช็กผู้สมัครฮั้วโหวตดูที่ "คะแนนรายคน" ลั่น "ไม่มีเป้าผู้รับใบสมัคร" ยัน จัดแสดงวิสัยทัศน์ไม่ได้ เหตุกฎหมายกำหนด
วันที่ 17 พ.ค. นายแสวง บุญมี เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ให้สัมภาษณ์ภายหลังการจัดงาน Kick off การเลือกสมาชิกวุฒิสภา ภายใต้แนวคิด “20 กลุ่มอาชีพร่วมใจ ขับเคลื่อนประเทศไทยไปพร้อมกัน” โดยมีข้อสงสัยถึงการลงสมัครของบุคคลที่เป็นบัญชีรายชื่อสำรอง สมาชิกวุฒิสภาชุดรักษาการ ว่าสามารถสมัครได้หรือไม่ นายแสวง ระบุว่า ผู้ที่เป็นสมาชิกวุฒิสภา ก็สามารถมีสิทธิ์ลงสมัครได้ เพราะไม่ใช่บุคคลที่เคยเป็นสมาชิกมาก่อน

เมื่อถามถึงเป้าหมายในการรับสมัครของสมาชิกวุฒิสภา ที่ก่อนหน้านี้นายอิทธิพร บุญประคอง ประธาน กกต. ตั้งเป้าหมายไว้ว่า จะมีผู้มาสมัครไม่ต่ำกว่า 100,000 คนนั้น นายแสวง ระบุว่า ตอนนี้ไม่มีเป้าหมาย แต่คาดว่า จากการประเมินอาจเป็นไปตามนั้น ส่วนจะมีการเร่งการประชาสัมพันธ์ให้มีคนมาสมัครสมาชิกวุฒิสภาเพิ่มขึ้นหรือไม่ นายแสวง ระบุว่า การสมัครสมาชิกวุฒิสภาไม่เหมือนกับการสมัครรับเลือกทั่วไป ไม่ใช่ใครจะมาสมัครก็ได้ เพราะคนที่สมัครจะต้องมีคุณสมบัติ และต้องมีความตั้งใจที่จะมาเป็น สว. ตนคิดว่า หากจะทำการรณรงค์ ควรจะสร้างความเข้าใจในกติกา จากการที่ตนเชื่อว่า ผู้มาสมัคร จะต้องตัดสินใจมาก่อนหน้านั้นแล้ว
...
ส่วนจะมีการนับคะแนนแบบเรียลไทม์ มาเปิดเผยต่อประชาชนและสื่อมวลชนหรือไม่ นายแสวง ระบุว่า การนับคะแนนจะเห็นจากภาพกล้องวงจรปิด ขนาด 42 นิ้ว ที่จัดเตรียมไว้ หากเป็นการเลือกในอาคารก็คงไม่สามารถมองเห็นได้ เนื่องจากจะมีกำแพงบัง คงจะมองผ่านทะลุกำแพงไม่ได้ แต่หากสถานที่เลือกเป็นลักษณะเปิดโล่ง ก็จะเห็นภาพจากกล้องวงจรปิดปกติ นอกจากนี้ กกต. ก็ยังมีการจัดสถานที่ให้ร่วมสังเกตการณ์นับคะแนน และจะมีจอ LCD ถ่ายทอดให้ผู้สังเกตการณ์ แต่อย่างน้อยก็ขอให้กลุ่มผู้สมัครนั่งดูการนับคะแนนของตนด้วย หากมีเหตุอะไรเกิดขึ้นก็สามารถประท้วงได้ทันที และจะมีเจ้าหน้าที่ทำการวินิจฉัย หากไม่พอใจก็ให้ทำเรื่องมาร้องต่อ กกต.ในขั้นต่อไป หากว่าไม่มีการประท้วงในเวลานั้น จะไม่สามารถมาร้อง กกต. ในภายหลังได้

นายแสวง ระบุเพิ่มเติมถึงวิธีการสังเกต ป้องกันการฮั้วคะแนนของผู้สมัคร จุดนี้มีมาตรกา โดยการสังเกตว่า หากบุคคลที่จะมาเป็น ส.ว. ก็จะสมัครเข้ามาเพื่อรับการรับเลือก แต่หากพบว่าการสมัครเข้ามาแล้วนั้น ไม่มีคะแนนเลย ก็ถือเป็นผิดสังเกต และอีกฝ่ายได้คะแนนเยอะ แต่หากพิจารณาตามกฎหมายที่ระบุว่า สามารถให้คะแนนกับตนเองก็ได้ หรือไม่ลงก็ได้ ซึ่งเจ้าหน้าที่จะต้องสังเกตพฤติกรรมแบบนี้ว่าทำแบบใด หากลองพิจารณาตามกระบวนการเราจะทราบว่าก่อนหน้าการเลือกตั้ง ซึ่งเจ้าหน้าที่สามารถนำมาประมวลตั้งแต่การลงสมัคร การนับคะแนน ซึ่งจะเห็นได้ทันที อีกทั้ง กกต.เอง มีศูนย์ข่าวอยู่ทุกจังหวัด สามารถจับตาดูความเคลื่อนไหวตั้งแต่ก่อนมีประกาศราชกิจจาฯ เจ้าหน้าที่ก็มีข้อมูลตั้งแต่การให้ความรู้

ผู้สื่อข่าวถามต่อว่า หลังจากที่กกต. มีการแก้ไขระเบียบการแนะนำตัวของผู้สมัคร ให้สามารถเปิดเผยทางสื่อได้มากขึ้น มีการตอบรับที่ดีขึ้นหรือไม่ นายแสวง ตอบว่า จริงๆ ให้ความสำคัญกับความรู้สึกของประชาชน เพราะที่ผ่านมา คือ อารมณ์ของสังคมที่สะท้อนไปถึงคนร่างกฎหมายออกมาจนทำให้ประชาชนไม่พอใจ ซึ่ง กกต. ก็มีหน้าที่เพียงทำตามกฎหมายเท่านั้น สิ่งที่ทำเพิ่มมีเพียงแค่การทำให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม เพราะถือว่าอย่างน้อยก็ได้รับฟังเสียงของประชาชน ส่วนประชาชนจะรู้สึกอย่างไรก็แล้วแต่
ส่วนข้อเสนอจากนักวิชาการ ที่อยากให้มีการจัดเวทีเพื่อแสดงวิสัยทัศน์ของผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภานั้น นายแสวง ระบุว่า ทำไม่ได้ เพราะกฎหมายกำหนดให้เลือก สว. จากคุณสมบัติและประสบการณ์ในอดีตในหน้ากระดาษเดียว