เกิดอาการไม่กินเส้นกันระหว่างรัฐมนตรีจากพรรคร่วมรัฐบาล ระหว่างนายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จากพรรคเพื่อไทย กับ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเดียวกัน รัฐมนตรีว่าการฯยืนยัน รมช.ไม่มีอำนาจโยกย้ายข้าราชการและการทำงบประมาณ

ความขัดแย้งระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลเป็นเรื่องปกติที่มีมาช้านานในรัฐบาลผสมหลายพรรค นับแต่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2560 ที่นักวิชาการบางคนวิพากษ์เป็นรัฐธรรมนูญฉบับวิปริต และเลือกตั้ง สส.ที่ใช้บัตรใบเดียว แค่เลือก สส.แบ่งเขต และบัญชีรายชื่อ การเลือกตั้ง สส.เป็นแบบเบี้ยหัวแตก

การเลือกตั้งเมื่อปี 2562 มีพรรคเข้าแข่งขันกว่า 70 พรรค น่าจะเป็นครั้งมโหฬารที่สุด มีพรรคที่ได้รับเลือกเป็น สส.ถึง 26 พรรค พรรคที่มี สส.เพียงคนเดียวมีถึง 12 พรรค จึงต้องตั้งรัฐบาลผสมเกือบ 20 พรรค ระบบพรรคการเมืองหลายพรรค และรัฐบาลผสมหลายพรรค คือมารร้ายของระบบรัฐสภา

ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวหรือน้อยพรรคที่เข้มแข็ง การเลือกตั้งเมื่อปี 2566 แม้พรรคก้าวไกลจะได้ถึง 151 ที่นั่ง รวมกับพรรคเพื่อไทย 141 เป็น 292 ที่นั่ง เป็นเสียงข้างมากเกินเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร แต่รัฐธรรมนูญพิสดาร ทำให้ตั้งรัฐบาลไม่ได้ ต้องใช้เสียงข้างมาก 2 สภา

ประชาธิปไตยระบบรัฐสภา จึงต้องพยายามทำทุกวิถีทาง เพื่อให้มีพรรคน้อยที่สุด เพื่อสามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียว หรือน้อยพรรค เพื่อจัดตั้งรัฐบาลน้อยพรรคที่สุด เพื่อให้ได้รัฐบาลที่เข้มแข็ง สามารถจัดตั้งรัฐบาลที่เข้มแข็ง ต่างจากผลเลือกตั้ง 2566 ถ้านายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกฯ ต้องตั้งรัฐบาล 8 พรรค

แต่เมื่อเปลี่ยนมาให้นายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี ต้องจัดตั้งรัฐบาลผสมถึง 11 พรรค จึงเกิดขัดแย้งในพรรคร่วมรัฐบาล เป็นเรื่องปกติ และขัดแย้งกันเป็นปกติ ผลการเลือกตั้งแบบเบี้ยหัวแตก เป็นผลสืบเนื่องจากรัฐธรรมนูญ แต่น่า แปลกใจ สว.บางคนถาม แก้รัฐธรรมนูญเพื่อเอามัน

...

แสดงว่าไม่ได้คิดถึงการพัฒนาประชาธิปไตย และการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งเป็นชื่อของคณะกรรมาธิการ ของวุฒิสภา ที่นักประชาธิปไตยเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า หมายถึงการปกครองของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน เป็นผลสืบเนื่องมาจากการปลูกฝังแนวความคิดที่มิใช่ประชาธิปไตย.

คลิกอ่านคอลัมน์ "บทบรรณาธิการ" เพิ่มเติม