เครือข่ายองค์กรภาคีคนจน เสนอ 11 ข้อ พรรคการเมือง ร่างรัฐธรรมนูญของประชาชน หลังฉบับปี 2560 พบปัญหาหลายประการ ลดทอนสิทธิเสรีภาพประชาชน ไม่เป็นประชาธิปไตย
วันที่ 11 ธันวาคม 2565 ที่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เครือข่ายองค์กรภาคีคนจน จัดงานสัมมนาที่มีชีวิต : Life Symposium “มนต์รักรัฐธรรมนูญคนจน : เมื่อหิ่งห้อยจะพรายแสง” โดยเชิญตัวแทนพรรคการเมืองเข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประกอบด้วย พรรคประชาชาติ พรรคประชาธิปัตย์ พรคเพื่อไทย พรรคก้าวไกล พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนากล้า พรรคไทยสร้างไทย พรรคพลังประชารัฐ พรรคภูมิใจไทย พรรคพลังปวงชนไทย พรรคเสรีรวมไทย และพรรครวมไทยสร้างชาติ พร้อมกับเครือข่ายรัฐธรรมนูญคนจนกว่า 66 องค์กร ในฐานะผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายการพัฒนาของรัฐที่ได้รับความเดือดร้อนทั้งที่เกิดขึ้นจากนโยบายในอดีตและปัจจุบัน

โดยได้ติดตามกระบวนการจัดทำตลอดจนการบังคับใช้ รัฐธรรมนูญ ปี 2560 พบปัญหาหลายประการ คือ รัฐธรรมนูญฉบับนี้เพิ่มอำนาจให้กับรัฐ ลดทอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน ลิดรอนสิทธิการมีส่วนร่วม ไม่เป็นประชาธิปไตย คนจนเข้าไม่ถึงการจัดการทรัพยากรที่เป็นธรรม ถูกลิดรอนสิทธิชุมชน ได้รับผลกระทบจากการพัฒนา การทำหน้าที่ของรัฐไม่ทั่วถึงไม่ครอบคลุมและไม่เป็นธรรม รัฐไม่รับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองที่สร้างความเสียหายให้กับประชาชน รวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลางแต่ไม่สามารถแก้ปัญหาให้กับประชาชนได้ ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงทุนและปัจจัยการผลิต แรงงานไม่ได้รับการคุ้มครอง ขาดสวัสดิการและอยู่ในภาวะอ่อนแอ ความเหลื่อมล้ำจากกระบวนการยุติธรรม สถานการณ์การเมืองเป็นไปเพื่อให้รัฐมีอำนาจเหนือประชาชน ไม่คุ้มครองคนผลัดถิ่น คนไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติ และไม่สามารถแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
...


จากปัญหาดังกล่าวเครือข่ายองค์กรภาคีคนจนจึงร่วมกันรณรงค์การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเปิดทางให้มีการเขียนใหม่ทั้งฉบับ ผ่านเวทีระดมข้อเสนอระดับภาคเพื่อพัฒนาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากปัญหาที่คนจนเผชิญรวมไปถึงความต้องการของคนจนในการร่วมกันออกแบบสังคม และร่วมกันสร้างกฎเกณฑ์ผ่านร่างรัฐธรรมนูญคนจน โดยมีเครือข่ายองค์กรภาคีคนจน เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชน (ngo) เครือข่ายนักวิชาการ และสื่อมวลชนจนเกิดรวมตัวขึ้นในนามเครือข่ายรัฐธรรมนูญคนจน เพื่อให้พรรคการเมืองได้รับทราบต้องการของประชาชนคนจน นำไปออกแบบและผลักดันนโยบาย ตลอดจนการร่วมลงนามสัญญาประชาคมเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ อันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาของคนจนและประชาชนอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรมต่อไป

ซึ่งความต้องการการร่างรัฐธรรมนูญของประชาชนมีข้อเสนอดังนี้
1. ปรับโครงสร้างสถาบันทางสังคมของประเทศ
2.รับรองศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์และความเท่าเทียมของคนทุกคนรวมทั้งคนต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย
3. ให้การรับรองสิทธิชุมชนและสิทธิของธรรมชาติที่ผูกพันในทางปฏิบัติจริง
4. สร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมรัฐสวัสดิการ
5. รับรองสิทธิในการปกครองจัดการตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น
6. มีบทบัญญัติให้รัฐต้องรับผิดชอบต่อประชาชน
7. สร้างสถาบันประชาชนเป็นภาคส่วนที่สามในการขับเคลื่อนประเทศ
8. อันมีรูปกระบวนการยุติธรรม
9. รูปกองทัพและการป้องกันไม่ให้เกิดรัฐประหาร
10. สร้างกลไกและแก้ปัญหาความขัดแย้งภายใต้หลักประชาธิปไตย
11. รับโครงสร้างทางเศรษฐกิจลดความเหลื่อมล้ำสร้างกฎกติกาที่เป็นธรรมในการแข่งขันการประกอบอาชีพและการดำเนินธุรกิจ


ภาพ : ชุติมน เมืองสุวรรณ