กฎหมาย ทำประชามติ ที่จะเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาในวาระ 3 วันที่ 7 เม.ย.นี้ มีเรื่องที่จะต้องจับตามากมาย การที่ กฎหมายประชามติ ผ่านรัฐสภาก็มีปัญหา ไม่ผ่านก็มีปัญหา จะทำให้การแก้รัฐธรรมนูญมีผลกระทบชนิดกลืนไม่เข้าคายไม่ออกประเด็นการปรับปรุงกฎหมายประชามติ ในชั้นกรรมาธิการ มี 3 มาตรา ได้แก่มาตรา 10 ที่มีการแก้ไขถ้อยคำให้สอดคล้องกับมาตรา 9 กำหนดระยะเวลาในการออกเสียงประชามติ ตามหลักการเดิมคือไม่เร็วไปกว่า 90 วัน และไม่ช้าไปกว่า 120 วัน ที่จะกลายเป็นเรื่องของเงื่อนเวลาขณะที่มาตรา 11 การเสนอทำประชามติโดยสภา นั้นจะต้องผ่านความเห็นชอบของแต่ละสภา บรรทัดนี้ต้องย้ำคำว่า ของแต่ละสภา นั้นหมายความว่า ถ้าสภาใดสภาหนึ่งไม่เห็นด้วย อะไรจะเกิดขึ้นขณะที่การเสนอทำประชามติ โดยประชาชน จะต้องมีการเข้าชื่อกันไม่น้อยกว่า 50,000 รายชื่อ ท่ามกลางเสียงทักท้วงว่า ทำไมไม่ใช้แค่ 10,000 ชื่อตามเดิม จะทำให้การทำประชามติภาคประชาชนยากขึ้นในเวลาเดียวกัน ในส่วนของรัฐบาล โดย ครม. สามารถพิจารณาตามเหตุอันสมควรตามมาตรา 166 ของรัฐธรรมนูญได้เลย และมีข้อยกเว้นให้ทำประชามติได้ไม่มีเวลาจำกัดในกรณีความจำเป็นด้านงบประมาณหรือเหตุที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อีกหนึ่งมาตราที่แก้ไขคือ 20/3 ว่าด้วย การจำกัดสิทธิของผู้ที่ไม่ใช้สิทธิออกเสียงประชามติ โดยไม่แจ้งเหตุ จะเสียสิทธิการลงเลือกตั้ง ส.ส.-ส.ว. สภาหรือผู้บริหารท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน การเสนอทำประชามติ เป็นข้าราชการการเมือง ข้าราชการรัฐสภา เป็นเวลา 2 ปีที่บอกว่า จะกระทบถึงการร่างรัฐธรรมนูญตามที่มีการเสนอมาโดยฝ่ายรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขวิธีการเลือกตั้งโดยการเปลี่ยนมาใช้บัตรสองใบ การตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณ จากเดิมที่เอาผิด ครม.ไปจนถึง ผอ.สำนักงบประมาณ กลับไปใช้แบบเดิมตามรัฐธรรมนูญปี 50 หรือการทำไพรมารีโหวตของพรรคการเมืองเพราะกรณีการแก้ไขบัตรเลือกตั้ง เป็นแบบสองใบ ในทาง ปฏิบัติจะส่งผลต่อพรรคการเมืองขนาดเล็กโดยตรง เนื่องจากที่ผ่านมามีการคิดคะแนน แบบสัดส่วนผสม อ้างเพื่อให้คะแนนทุกคะแนนของชาวบ้านไม่ตกน้ำ ก็เลยไม่ต้องนำ คะแนนเฉลี่ยกลางมาเป็นตัววัดการคิดคะแนน แบบบัญชีรายชื่อ เช่น พรรคการเมืองที่มีคะแนนรวมต่ำกว่า 70,000 คะแนน ก็ยังมีโอกาสได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ที่น่าสังเกตอีกข้อก็คือ การไม่ให้มีการนับคะแนนแบบบัญชีรายชื่อใหม่ใน 1 ปี มีนัยสำคัญที่ดูทะแม่งชอบกลเมื่อประเด็นการเสนอการแก้ไขรัฐธรรมนูญของฝ่ายรัฐบาล เห็นตรงกันแบบนี้ โดยไม่มีการแตะต้องเรื่อง อำนาจของ ส.ว. 250 และ อำนาจขององค์กรอิสระ หรือยกเลิกไปเลยตามข้อเสนอของฝ่ายค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ยิ่งกว่าเข็นครกขึ้นภูเขาแนวโน้มว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้จะอยู่ยงคงกระพัน ไม่สามารถที่จะแก้ไขได้ ไปอีกจนกว่าจะครบ 5 ปีและมีแนวโน้มว่า รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ก็จะอยู่ยาวไปอีกอย่างน้อยก็ 5 ปี รวมทั้งมีแนวโน้มว่าเรากำลังจะเข้าสู่กลียุค.หมัดเหล็กmudlek@thairath.co.th