นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม นำกลุ่มไทยภักดี ยื่นศาลรัฐธรรมนูญ ร้อง 4 ข้อ คัดค้านการแก้ไขรธน. ระบุ เป็นการล้มล้างการปกครองด้วยการตั้ง ส.ส.ร. เพื่อร่างรธน.ใหม่ทั้งฉบับ

วันที่ 3 ธ.ค. ที่ศาลรัฐธรรมนูญ ศูนย์ราชการ นายแพทย์วรงค์ เดชกิจวิกรม แกนนำกลุ่มไทยภักดี เดินทางยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ กรณีล้มล้างการปกครองด้วยการตั้ง ส.ส.ร. เพื่อร่างรัฐรรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ใช้สิทธิ์ตามมาตรา 49 ของรัฐธรรมนูญ

นายแพทย์วรงค์ กล่าวว่า จากการที่กลุ่มไทยภักดีได้ยื่นคำร้องผ่านอัยการสูงสุดไว้ตั้งแต่วันที่ 17 พ.ย. ซึ่งวานนี้ (2 ธ.ค.) ได้พันกำหนด 15 วัน แต่อัยการสูงสุดไม่ดำเนินการใดๆ กลุ่มไทยภักดีจึงใช้สิทธิ์มาร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยตรงตามมาตรา 49 ของรัฐธรรมนูญ ว่า มีการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยมีเหตุผล 4 ข้อ

1.การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้ในมาตรา 256 กับการแก้ไขใหม่ให้ง่ายขึ้น ไม่มีการกำหนดสัดส่วน ส.ว.และส.ส.ฝ่ายค้านตอนลงมติ รวมทั้งการต้องทำประชามติในหมวดสำคัญ เป็นการทำลายหลักมีส่วนร่วมของรัฐสภา และหลักมีส่วนร่วมของประชาชน

2.การมี ส.ส.ร.เพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ มีผลให้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญทั้ง 10 ฉบับต้องถูกยกเลิก มีผลให้ ส.ส.และ ส.ว.ต้องถูกยกเลิก องค์กรอิสระต้องถูกยกเลิก ศาลรัฐธรรมนูญต้องถูกยกเลิก วิธีพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ วิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองถูกยกเลิก กระทบต่อโครงสร้างระบบการเมืองการปกครอง คดีต่างๆ ที่เกี่ยวกับการทุจริตประพฤติมิชอบทั้งที่พิจารณาไปแล้ว และอยู่ระหว่างพิจารณา หลุดพันความผิดเพราะข้ออ้างกฎหมายที่ใช้บังคับถูกยกเลิก

3.บทบัญญัติว่าด้วยการแก่ไขรัฐธรรมนูญ ถูกกำหนดเป็นลายลักษณ์อักษรให้แก้ไขได้รายมาตรา การจัดตั้ง ส.ส.ร.เพื่อยกร่างฉบับใหม่ ไม่มีกรกำหนดไว้ ดังนั้นการกระทำดังกล่าวจึงมีเจตนาที่ชัดบทบัญญัติของกฎหมาย

...

4.โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญ 2560 ผ่านประชามติจากประชาชน และศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำวินิจฉัยเป็นบรรทัดฐานว่า การจะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จะต้องให้ประชาชนผู้มีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญได้ลงประชามติเสียก่อนว่าสมควรมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หรือไม่

นายแพทย์วรงค์ กล่าวต่อว่า จึงขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวิจฉัยและมีคำสั่ง 1.ประธานรัฐสภาระงับการบรรจุระเบียบวาระการแก่ไขรัฐธรรมนูญ วาระสอง และสาม 2.ขอให้ผู้ถูกร้องคือ ส.ส.ที่ลงชื่อร่างฝ่ายค้านและร่างฝ่ายรัฐบาล ถอนระเบียบวาระออกจากที่ประชุมรัฐสภา และ 3.ขอให้ศาลมีคำส่งเพิกถอนมติในชั้นรับหลักการ เมื่อวันที่ 18 พ.ย.2563 ที่มีมติรับหลักการทั้งสองฉบับ 

ทั้งนี้ ทางศาลรัฐธรรมนูญจะมีการดำเนินการอย่างไรเราก็พร้อมจะรับคำวินิจฉัย.