นพ.ทศพร เสรีรักษ์ อดีต ส.ส.ไทยรักษาชาติ จ.แพร่ รับ กำลังประเมินเสียงคนในพื้นที่ คาด อีก 1-2 วันชัด จะรณรงค์ "โหวตโน" หรือไม่ เผยเหตุผลที่แท้ รณรงค์ให้เลือกพรรคอื่นกลัวคะแนนเหมือน "เบี้ยหัวแตก" หวั่นพ่ายเลือกตั้งในพื้นที่

วันที่ 12 มี.ค. นพ.ทศพร เสรีรักษ์ อดีตผู้สมัคร ส.ส.พรรคไทยรักษาชาติ กล่าวกรณี ในพื้นที่ จ.แพร่ ที่ตนเป็น ส.ส.เจ้าของพื้นที่เดิมอยู่ มีกระแสการโหวตโน ในพื้นที่ดังกระหึ่มหลัง พรรคไทยรักษาชาติถูกยุบพรรค ว่า ยอมรับว่าประชาชนในพื้นที่ มีการถามไถ่ลักษณะนั้นจริง ซึ่งตนจะต้องประเมินความคิดเห็นประชาชนในพื้นที่อีกครั้งว่า มีความคิดเห็นอย่างไรแน่ ระหว่างให้"รณรงค์ให้โหวตโน หรือ จะให้รณรงค์ให้ประชาชนฐานเสียงพรรคไทยรักษาชาติ ไปโหวตเสียงในพรรคการเมืองอื่นในพื้นที่" คาดว่า จะประเมินเสียงอีก 1-2 วัน ก็จะสามารถตัดสินใจได้ว่าจะโหวตโน (แสดงพลังประชาชนพื้นที่ไม่เลือกใครเลย) หรือจะรณรงค์ให้ฐานเสียงพรรคไทยรักษาชาติเดิมไปเลือกพรรคการเมืองอื่น
...

นพ.ทศพร กล่าวต่อว่า ความจริงผมตั้งใจตั้งแต่แรกแล้วว่า จะรณรงค์ให้ประชาชนในพื้นที่ไปเลือกพรรคอื่น และก็มีพรรคการเมืองที่จะรณรงค์ช่วยแล้วด้วย โดยหากพรรคไทยรักษาชาติไม่ถูกยุบพรรคมันไม่มีปัญหา ชนะแน่ แต่พอไม่มีไทยรักษาชาติแล้ว คะแนนเสียงเดิมในพื้นที่ก็แตกกัน จะไปเลือกพรรคโน้นบ้าง พรรคนี้บ้าง พรรคที่ประกาศตัวอยู่ฟากฝั่งประชาธิปไตย ถ้าเป็นแบบนี้ ตนประเมินว่า มีโอกาสสูงที่จะพ่ายพรรคคู่แข่งได้ (พลังประชารัฐ หรือประชาธิปัตย์) เพราะเสียงที่ไปเลือกจะไม่เป็นปึกแผ่น


นพ.ทศพร กล่าวอีกว่า อีกอย่าง ในฐานะที่ตนเป็น ส.ส.เจ้าของพื้นที่เดิม ประเมินว่า พรรคการเมืองที่มาลงสมัครในพื้นที่โดยเฉพาะ พรรคการเมืองที่ประกาศ ว่า อยู่ฝั่งที่ไม่เอาบิ๊กตู่ ผู้สมัครส.ส.ที่มาลง ส่วนใหญ่ประชาชนไม่รู้จัก ค้นเคย หรือผูกพันมากนัก ทำให้สุ่มเสี่ยงที่หากรณรงค์ให้ ประชาชนฐานเสียงอดีตพรรคไทยรักษาชาติไปเลือกพรรคการเมืองอื่นที่อยู่ฟากฝั่งประชาธิปไตย เสียงที่ไปเลือกก็จะแตกเป็น"เบี้ยหัวแตก" ทำให้พรรคฝั่งประชาธิปไตยพ่ายได้

อย่างไรก็ตาม สมรภูมิเลือกตั้งใน จ.แพร่ ไม่มีผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย ลงสนาม คาดเพื่อหลีกทางให้พรรคไทยรักษาชาติแทน เมื่อไม่มีพรรคไทยรักษาชาติที่ถูกยุบพรรคไปแล้ว ก็เหลือเพียงพรรคเพื่อชาติ พรรคเสรีรวมไทย ขณะอีกฟาก ก็คือ พรรคพลังประรัฐ และพรรคประชาธิปัตย์

ทั้งนี้ หากจำนวนประชาชนโหวตโนในพื้นที่เลือกตั้งชนะคะแนนคนที่ได้รับเลือกเป็นอันดับ 1 กฎหมายเลือกตั้งกำหนดให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่ในเขตนั้น สถานการณ์การเมืองก็จะคล้ายกับการเลือกตั้งเมื่อปี 2556 ที่กลุ่ม กปปส.นำโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รณรงค์ให้ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้บางเขต.