ต่อสู้กันทุกวิถีทาง โดยเฉพาะในยุคดิจิตอลเครือข่ายเชื่อมโยงเข้าถึงประชาชนทั่วโลกเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่อยากกระจายข่าวได้รวดเร็วว่องไว ผิดถูกเป็นอย่างไร ยังไม่มีใครออกมายืนยันเป็นเรื่องเป็นราว มีเพียง "ข่าว" ลอยๆ พูดต่อ แชร์ต่อ ส่งต่อกันไปด้วยความไม่รู้ ปลุกกระแสความเชื่อของคนในฝักฝ่ายการเมืองตัวเองจนอาจสร้างความเสียหายบานปลายระดับชาติ หรือกลายเป็นความผิดที่ผู้กระทำอาจต้องถูกดำเนินคดีแบบไม่ทันตั้งตัว 

ล่าสุด มีการส่งต่อข้อความระบุเอกสารราชการที่ออกมาในช่วงนี้ ไม่ว่าจะด้วยการประกาศเนื้อความออกทีวี หรือสื่อหนังสือพิมพ์ สื่อเว็บไซต์ต่างๆ ก็มักถูกโจมตีว่า "ปลอม"  ซึ่งก็มีทั้ง "ปลอมจริงๆ" และถูกปล่อยข่าวว่าปลอม เช่น  กรณีมีการปลอมประกาศราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำสั่ง คสช.ปลดผู้บัญชาการเหล่าทัพ 3 เหล่าทัพ ออกจากตำแหน่ง ซึ่งไม่ใช่ความจริง กรณีมีการปลอมประกาศราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำสั่ง คสช.ปลดผู้บัญชาการเหล่าทัพ 3 เหล่าทัพ ออกจากตำแหน่ง ซึ่งไม่ใช่ความจริง และได้มีการออกมายืนยันจากปากเจ้าหน้าที่ รวมไปถึงขยายผลหาต้นตอคนปลอมแปลงขึ้นมา ซึ่งทราบว่าอาศัยอยู่ในต่างประเทศ 

และในส่วนที่ว่าไม่ได้มีการปลอมแปลง แต่กลับถูกปลุกกระแสว่า "ปลอม"  กลับเป็นเอกสารสำคัญระดับประเทศ ที่ชาวโซเชียลส่งต่อปลุกระดมกันว่า "เป็นการแอบอ้างเขียนขึ้นมาเอง โดยผู้ใหญ่ในประเทศ" โดยการหาองค์ประกอบสอดคล้องจับผิด แต่ข้อมูลทั้งหมดยังไม่ได้มีผู้เสียหาย หรือผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นคนปลอม ออกมาตอบโต้กลับ อีกทั้งผู้ที่ประโคมข่าว มิได้กล้าออกมาเปิดโปงข้อมูลออกสื่อ เพื่อเค้นหาเอาความจริง การกระจายข้อมูลดังกล่าว จึงถูกส่งถึงกันอย่างต่อเนื่อง โดยไม่รู้ข้อเท็จจริง

สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่านครับ สัปดาห์นี้มีเรื่องที่เป็นกระแสร้อนแรงเกี่ยวกับ พระราชบัญญัติว่าด้วย “การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์” ซึ่งแก้ไขใหม่และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2560 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนด 120 วันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

...

ส่องกฎหมาย พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ ก่อนแชร์ข้อมูล

นายนิติธร แก้วโต หรือ ทนายเจมส์ ให้ข้อมูลไว้ว่า การดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และมาตรา 328 พนักงานสอบสวน หรือทนายความ มักจะนำพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์มาตรา 14 (1) มาใช้ร่วมกันด้วย โดยตีความว่าเป็นการนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ทั้งที่ กฎหมายทั้งสองฉบับนั้น มีความแตกต่างกันอย่างมาก


โดยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และมาตรา 328 เป็นคดีความผิดอัน “ยอมความกันได้” ส่วนพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์มาตรา 14 (1) เป็น “ความผิดอันยอมความกันไม่ได้” และในส่วนของอัตราโทษความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มีโทษไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท แต่ในส่วนของพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ มีโทษจำคุกถึง 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท

ทำให้นักกฎหมาย หรือแม้แต่คำพิพากษาของศาลชั้นต้นก็วินิจฉัยไปในหลายรูปแบบ บางคดีก็ยกฟ้องทั้งหมด บางคดีก็พิพากษาลงโทษเฉพาะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และมาตรา 328 บางคดีก็พิพากษาลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญาและตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ด้วย

กฎหมายฉบับแก้ไข มีโทษอย่างไรบ้าง 

กฎหมายฉบับใหม่จึง “แก้ไข” พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (1) โดยมุ่งเน้นไปในเรื่องของการทุจริตหรือการฉ้อโกงในระบบคอมพิวเตอร์ และตามมาตรา 14 วรรคสุดท้าย หากการกระทำดังกล่าวนั้น มิได้กระทำต่อประชาชน ให้ลงโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท และเป็นความผิดอันยอมความกันได้ ซึ่งในส่วนท้ายของมาตรา 14 (1) ระบุไว้ชัดเจน “อันมิใช่การกระทําความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา"

ส่วนในกรณีที่กระทำความผิดต่อประชาชน โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์การประชาชน มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีและปรับไม่เกิน 100,000 บาท ทั้งยังเป็นความผิดอันยอมความกันไม่ได้นะครับ

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ มาตรา 14 ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

กระทบความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ

(1) โดยทุจริตหรือโดยหลอกลวง นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่บิดเบือนหรือปลอม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทําความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา

(2) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคง ในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน

(3) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา

(4) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้

(5) เผยแพร่หรือส่งต่อ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4)


ถ้าการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่ง (1) มิได้กระทําต่อประชาชน แต่เป็นการกระทําต่อบุคคลใด บุคคลหนึ่ง ผู้กระทํา ผู้เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าวต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และให้เป็นความผิดอันยอมความได้

จากประสบการณ์ของผม การกระทำในลักษณะดังต่อไปนี้ มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์มาตรา 14 (1)

1. การหลอกลวงหรือชักชวนผู้อื่น/ประชาชน ผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ Facebook, LINE ฯลฯ ให้ร่วมเล่นแชร์ หรือลงทุนในธุรกิจด้านต่างๆ โดยผู้ชักชวนมีเจตนาทุจริต หรือไม่มีเจตนาจะตั้งวงแชร์จริงๆ หรือไม่มีเจตนาจะให้ร่วมลงทุนด้านธุรกิจจริงๆ

2. การหลอกลวงขายสินค้าให้แก่ ผู้อื่น/ประชาชน ผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ Facebook, LINE ฯลฯ โดยมีเจตนาทุจริต หรือไม่มีเจตนาจะขายสินค้าจริงๆ หรือไม่มีสินค้าอยู่จริง หรือนำภาพสินค้าของผู้อื่นมาโพสต์ เพื่อจำหน่ายและหลอกเหยื่อ

3. การหลอกลวงผู้อื่น/ประชาชน ว่าจะให้กู้ยืมเงิน อัตราดอกเบี้ยต่ำ โดยหลอกให้ผู้อื่น/ประชาชน โอนเงินมัดจำไปก่อนที่จะตกลงให้กู้ยืมเงิน

4. การหลอกลวงผู้อื่น/ประชาชน ว่าจะดำเนินการแก้ไขสถานะเกี่ยวกับเครดิตทางการเงิน จากเดิมมีสถานะค้างชำระให้กลับมาเป็นสถานะปกติ หรือหลอกลวงว่าสามารถดำเนินการจัดให้สถาบันการเงินอนุมัติเงินกู้ยืมหรือสินเชื่อ ทั้งที่ผู้ขออนุมัติสินเชื่อมีเครดิตทางด้านการเงินไม่น่าเชื่อถือ โดยจะเรียกเก็บเงินค่าใช้จ่ายไปก่อน

5. การหลอกลวงผู้อื่น/ประชาชน ด้วยการตีสนิทหรือหลอกจีบ และหลอกว่าส่งสิ่งของมาให้ ต่อมาจะมีบุคคลแอบอ้างเป็นพนักงานในบริษัทขนส่งหลอกให้โอนเงินค่าใช้จ่าย เพื่อดำเนินการนำพัสดุออกจากด่านศุลกากร โดยมักอ้างว่ามีเงินสดอยู่ในพัสดุเป็นจำนวนมาก.