(ภาพ)พล.ท. ผดุง ยิ่งไพบูลย์สุข กรรมการมูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ (คนขวาสุด) นำคณะเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครช่วยกันปลูกหญ้าแฝก ตามแนวคันคลองเพื่อป้องกันตลิ่ง.

ในแต่ละปีประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาน้ำท่วม–ภัยแล้ง จนกลายเป็นปัญหาซ้ำซาก สูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน แม้ว่ารัฐบาลจะทุ่มงบประมาณจำนวนไม่น้อยเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ แต่ดูเหมือนว่าปัญหาดังกล่าวไม่ได้หมดไป สาเหตุเกิดจากการบริหารจัดการไม่เป็นระบบ

“บ้านหัวป่าเขียว” หมู่ 7 ต.ทะเลน้อย อ.ควนขนุน จ.พัทลุง คือหนึ่งตัวอย่างของการแก้ปัญหา เดิมหมู่บ้านแห่งนี้เป็นพื้นที่ทุรกันดารและลุ่มต่ำ ทุกครั้งที่เกิดอุทกภัยจะถูกน้ำท่วมขังนานที่สุด

นายกู้เกียรติ วงศ์กระพันธุ์ ผวจ.พัทลุง และ นายสยาม สุวรรณรัตน์ ผจก.ฝ่ายพัฒนาเพื่อความยั่งยืน บมจ.หาดทิพย์ ร่วมตักจอกแหนและวัชพืช.
นายกู้เกียรติ วงศ์กระพันธุ์ ผวจ.พัทลุง และ นายสยาม สุวรรณรัตน์ ผจก.ฝ่ายพัฒนาเพื่อความยั่งยืน บมจ.หาดทิพย์ ร่วมตักจอกแหนและวัชพืช.

...

นายสยาม สุวรรณรัตน์ ผจก.ฝ่ายพัฒนาเพื่อความยั่งยืน บมจ.หาดทิพย์.
นายสยาม สุวรรณรัตน์ ผจก.ฝ่ายพัฒนาเพื่อความยั่งยืน บมจ.หาดทิพย์.

เมื่อครั้งที่ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้เสด็จฯเยี่ยมราษฎรบ้านหัวป่าเขียว ในวันที่ 25 ตุลาคม 2542 ได้มีพระราชดำริให้ช่วยเหลือแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรในพื้นที่ดังกล่าวโดยการจัดสร้าง ศูนย์ศิลปาชีพบ้านหัวป่าเขียว ขึ้นมา

เพื่อใช้เป็นสถานที่สร้างงาน สร้างรายได้จากการทอผ้า ผลิตภัณฑ์จากเสื่อกระจูดและผ้าปัก รวมทั้งใช้เป็นศูนย์อพยพของชาวบ้านในช่วงน้ำท่วม

ตั้งแต่ปี พ.ศ.2558-2560 ลุ่มน้ำทะเลน้อยซึ่งเป็นที่ตั้งของบ้านหัวป่าเขียวได้ปรับปรุงโครงสร้างน้ำของตำบลต่างๆให้เชื่อมโยงกันและบริหารร่วมกันอย่างเป็นระบบ เพื่อแก้ปัญหาน้ำแล้ง น้ำท่วม และภัยพิบัติ

โดยการจัดตั้งกรรมการบริหารจัดการน้ำขึ้นมาในแต่ละตำบล เชื่อมโยงเข้าด้วยกันเป็น คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำระดับลุ่มน้ำทะเลน้อย โดย มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์กรมหาชน) ได้ร่วมกันถ่ายทอดความรู้การจัดการน้ำ เทคโนโลยี

พล.ท.ผดุง ยิ่งไพบูลย์สุข กก.มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
พล.ท.ผดุง ยิ่งไพบูลย์สุข กก.มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครช่วยกันขุดดินเตรียมปลูกหญ้าแฝกป้องกันแนวตลิ่งคันคลอง.
เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครช่วยกันขุดดินเตรียมปลูกหญ้าแฝกป้องกันแนวตลิ่งคันคลอง.

...

พร้อมกับน้อมนำแนวพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ด้านการบริหารจัดการน้ำ และการพัฒนาอย่างยั่งยืนมาดำเนินการ

เมื่อปลายเดือนที่ผ่านมา มูลนิธิโคคา–โคลา ประเทศไทย และหน่วยงานข้างต้นได้ร่วมกับคณะกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ ลุ่มน้ำทะเลน้อย จัดกิจกรรมอาสาสมัครป้องกันแนวตลิ่ง เปิดทางน้ำ บำบัดน้ำเสียครัวเรือน ภายใต้โครงการ “รักน้ำ” ขึ้น ณ ศูนย์ศิลปาชีพบ้านหัวป่าเขียว

ประกอบด้วยกิจกรรม “ป้องกันคันคลอง” ด้วยการปลูกหญ้าแฝก 2 ชั้น ระยะทาง 6,000 เมตร จำนวน 120,000 ต้น ซึ่งบริษัทหาดทิพย์ ได้นำหญ้าแฝกจากโรงงานใน อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี มาร่วมปลูก 13,000 ต้น

กิจกรรม “เปิดทางน้ำ” ด้วยการกำจัดวัชพืชในคลอง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำและกิจกรรม “บำบัดน้ำเสีย” ในครัวเรือน โดยการประกอบถังดักไขมัน 34 ถัง ให้กับ 34 ครัวเรือน เพื่อลดปัญหาน้ำเสีย

นายพิชิต ขันติพันธุ์ ประธานคณะ กก.บห.จัดการทรัพยากรน้ำชุมชนฯ.
นายพิชิต ขันติพันธุ์ ประธานคณะ กก.บห.จัดการทรัพยากรน้ำชุมชนฯ.

...

เจ้าหน้าที่ร่วมกันประกอบถังดักไขมัน เพื่อมอบให้ชาวบ้านใช้บำบัดน้ำเสียในครัวเรือน.
เจ้าหน้าที่ร่วมกันประกอบถังดักไขมัน เพื่อมอบให้ชาวบ้านใช้บำบัดน้ำเสียในครัวเรือน.

นายพิชิต ขันติพันธุ์ ประธานคณะกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ ลุ่มน้ำทะเลน้อย กล่าวว่า ปี พ.ศ.2561 มูลนิธิโคคา-โคลาฯ ประกอบด้วย บริษัทหาดทิพย์ จำกัด (มหาชน), บริษัทไทยน้ำทิพย์ จำกัด และ บริษัทโคคา–โคล่า (ประเทศไทย) ได้สนับสนุนการดำเนินงานของเครือข่ายลุ่มน้ำทะเลน้อยภายใต้ โครงการ “รักน้ำ”

โดยร่วมกับ มูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันก่อสร้างอาคาร ยกระดับหน้าท่อ ขุดลอกคลองไส้ไก่ ทำให้โครงสร้างน้ำมีความเชื่อมโยงกัน สามารถระบายและกักเก็บน้ำได้จากเดิมกว่า 37,000 ลูกบาศก์เมตร มีผู้ได้รับประโยชน์มากกว่า 183 ครัวเรือน มีพื้นที่เกษตรที่ได้รับประโยชน์มากกว่า 1,700 ไร่

...

นายสยาม สุวรรณรัตน์ ผู้แทนมูลนิธิโคคา-โคลา ประเทศไทย และ ผจก.ฝ่ายพัฒนาเพื่อความยั่งยืน บริษัทหาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า มูลนิธิโคคา-โคลาฯได้ริเริ่ม โครงการ “รักน้ำ” มาตั้งแต่ปี 2550 มีเป้าหมายการคืนน้ำในปริมาณเทียบเท่าที่นำมาผลิตเครื่องดื่มกลับสู่ชุมชนและธรรมชาติอย่างปลอดภัยและยั่งยืน ผ่านการดำเนินกิจกรรมด้านการอนุรักษ์แหล่งน้ำ

โดยการสนับสนุนความคิดริเริ่มและการมีส่วนร่วมของชุมชน ประสานการทำงานร่วมกับภาครัฐในส่วนท้องถิ่น และองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร สนับสนุนส่งเสริมให้ชุมชนได้ร่วมวางแผนและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำร่วมกัน

นายพิชิต ขันติพันธุ์ ประธาน กก.บห.จัดการทรัพยากรน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริ ลุ่มน้ำทะเลน้อย ขับรถแทรกเตอร์พาคณะไปปลูกหญ้าแฝก.
นายพิชิต ขันติพันธุ์ ประธาน กก.บห.จัดการทรัพยากรน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริ ลุ่มน้ำทะเลน้อย ขับรถแทรกเตอร์พาคณะไปปลูกหญ้าแฝก.
พล.ท.ผดุง ยิ่งไพบูลย์สุข กก.มูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ และ นายกู้เกียรติ วงศ์กระพันธุ์ ผวจ.พัทลุง ร่วมเปิดกิจกรรมป้องกันแนวตลิ่ง เปิดทางน้ำ บำบัดน้ำเสียครัวเรือน ภายใต้โครงการ “รักน้ำ”.
พล.ท.ผดุง ยิ่งไพบูลย์สุข กก.มูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ และ นายกู้เกียรติ วงศ์กระพันธุ์ ผวจ.พัทลุง ร่วมเปิดกิจกรรมป้องกันแนวตลิ่ง เปิดทางน้ำ บำบัดน้ำเสียครัวเรือน ภายใต้โครงการ “รักน้ำ”.

ปัจจุบัน โครงการ “รักน้ำ” ได้สร้างประโยชน์ ให้แก่คนไทยในชุมชนต่างๆทั้งทางตรงและทางอ้อมกว่า 1 ล้านคน ในพื้นที่ที่บริษัทมีโรงงานผลิตเครื่องดื่ม 6 จังหวัด ได้แก่ จ.ลำปาง นครสวรรค์ บุรีรัมย์ ขอนแก่น ปทุมธานี และ จ.สุราษฎร์ธานี

ด้าน พล.ท. ผดุง ยิ่งไพบูลย์สุข กรรมการมูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ กล่าวว่า กิจกรรมอาสาสมัครป้องกันแนวตลิ่ง เปิดทางน้ำ บำบัดน้ำเสียในครัวเรือน เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในลุ่มน้ำทะเลน้อย

มูลนิธิโคคา–โคลาฯ ได้ร่วมกับ มูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ ดำเนินงานบริหารจัดการน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริมาอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ รวมทั้งในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลน้อย ซึ่งเป็นพื้นที่ประสบอุทกภัยมาโดยตลอด

“หากสามารถบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำทะเลน้อยได้อย่างเป็นระบบ ทั้งการระบายน้ำและกักเก็บน้ำ ก็จะช่วยลดปริมาณน้ำที่จะไปเอ่อล้นท่วม ลงทะเลสาบสงขลาได้อย่างแน่นอน” พล.ท.ผดุง กล่าว

สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้มีผู้ได้รับประโยชน์ 150 ครัวเรือน 500 คน พื้นที่การเกษตร 1,463 ไร่.

สุธรรม คงเพชร