"ก.ยุติธรรม" จับมือ "ยูเอ็น" จัดสัมมนา" ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนในโลกหลังการแพร่ระบาดของโควิดฯ" สร้างความตระหนักรู้เข้ากับสถานการณ์ "สมศักดิ์" หวังภาคธุรกิจเคารพสิทธิ-ลดการละเมิด ทำให้ประกอบกิจการได้อย่างมั่นคง พร้อมดันไทยเป็นต้นแบบในภูมิภาค
เมื่อวันที่ 3 ธ.ค.63 ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ มีการประชุมระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 4 ภายใต้ประเด็น "ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนในโลกหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019" โดยมี นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมด้วย นายเรืองศักดิ์ สุวารี อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ นายนพปฎล เดชอุดม เลาขาธิการสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย และนางโลวิต้า รามกุทธี UNDP Thailand และตัวแทนจากภาคธุรกิจต่างๆเข้าร่วมงาน
ทั้งนี้ นายเรืองศักดิ์ กล่าวรายงานว่า การประชุมในวันนี้เกิดขึ้นภายหลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบแผนธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน กรมคุ้มครองสิทธิที่รับผิดชอบแผนดังกล่าว มีหน้าที่สร้างความตระหนักรู้ให้กับภาคธุรกิจ เพื่อให้เกิดความรับผิดชอบกับสิทธิของประชาชน ซึ่งวันนี้เราได้ร่วมกับสหประชาชาติและโกลบอลคอมแพ็กประเทศไทย เพื่อเป็นแนวทางในธุรกิจและเพิ่มองค์ความรู้กับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยเน้นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และต้นแบบที่ดีในการทำธุรกิจ การประเมินความเสี่ยงและเตรียมความพร้อมแก้ปัญหาธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ โดยเน้นการฟื้นฟูกลับเพื่อให้ดีกว่าเดิม หวังว่าจะได้ประโยชน์จากข้อคิดเห็นต่างๆเพื่อนำไปปฏิบัติได้
...
โดย นายสมศักดิ์ กล่าวเปิดงานว่า การเข้าร่วมงานครั้งนี้ของทุกท่านถือมีความคำนึงถึงความรับผิดชอบและธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน การจัดงานในปีนี้จัดในหัวข้อ "ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนในโลกหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019" เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทปัจจุบัน การแพร่ระบาดของไวรัสโควิดฯ เป็นวิกฤตการณ์ระดับโลก โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก โดยประเทศไทยต้องเตรียมความพร้อม ต้องมีการปรับเปลี่ยนมุมมองด้านธุรกิจรูปแบบใหม่ ให้ความสำคัญกับทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง จะต้องมีความเคารพสิทธิมนุษยชน ซึ่งจะช่วยลดการละเมิดสิทธิ ทำให้ภาคธุรกิจประกอบกิจการได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยหวังว่าประเทศไทยจะเป็นต้นแบบให้ประเทศต่างๆในภูมิภาคได้ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีด้วย
ด้าน นายนพปฎล กล่าวว่า การจัดงานในครั้งนี้ ถือเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้จากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงผ่านมา ของภาคธุรกิจต่างๆถือเป็นเรื่องที่ดีที่เราได้แลกเปลี่ยนกัน ซึ่งการตระหนักรู้นั้นเราควรคิดสร้างสรรค์วิธีอื่นๆ สร้างแรงจูงใจ โดยเฉพาะธุรกิจเอสเอ็มอี ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของห่วงโซ่ภาคธุรกิจ ให้มีการเคารพสิทธิมนุษยชนมากขึ้น เราทุกคนต้องผลึกกำลังเพื่อก้าวไปด้วยกัน ความมุ่งมั่นของสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย หวังที่จะช่วยให้ประเทศไทยก้าวไปไกลในเรื่องนี้