ไทยตอนบน อากาศร้อน กลาง-กทม.มีฝน เขื่อนใหญ่มีน้ำน้อย
3 พ.ค. 2558 06:23 น.
3-7 พ.ค. ไทยตอนบน มีอากาศร้อนและร้อนจัดบางพื้นที่ ขณะที่ภาคอื่นๆ อากาศร้อน และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ขณะที่ปริมาณน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่แล้ง มีปริมาณน้ำน้อย
วันที่ 3 พ.ค. ทีมข่าวไทยรัฐ ร่วมกับ Weather Company ของสหรัฐอเมริกา รายงาน สภาวะอากาศของประเทศไทยวันที่ 3-7 พฤษภาคม 2558 คาดการณ์ ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนทำให้มีอากาศร้อนจัดในบางพื้นที่ และลมตะวันออกเฉียงใต้นำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทย มีกำลังอ่อนลง ทำให้มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ
ภาคเหนือ อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ อุณหภูมิ 23-41 องศาเซลเซียส
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20 ของพื้นที่ และลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัด อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ และนครราชสีมา อุณหภูมิ 23-39 องศาเซลเซียส
ภาคกลาง อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมาก บริเวณจังหวัดกาญจนบุรี และราชบุรี อุณหภูมิ 25-40 องศาเซลเซียส
ภาคตะวันออก อากาศร้อนในตอนกลางวัน กับมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดจันทบุรี และตราด อุณหภูมิ 24-38 องศาเซลเซียส ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดสงขลา ปัตตานี และนราธิวาส
อุณหภูมิต่ำสุด 23-37 องศาเซลเซียส ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
อุณหภูมิ 24-36 องศาเซลเซียส ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
กรุงเทพมหานคร คาดว่า วันที่ 3-7 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิ 26-39 องศาเซลเซียส
ขณะพื้นที่ คาดว่า จะมีฝนฟ้าคะนอง วันนี้ (3 พ.ค.58)
สมุทรปราการ ปทุมธานี ฉะเชิงเทรา นครปฐม กาญจนบุรี ราชบุรี อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ นครราชสีมา จันทบุรี ตราด
สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล
ส่วนเขื่อนขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำน้อยกว่า 30% มีดังนี้
เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก 29%, เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ 24%, เขื่อนลำพระเพลิง จ.นครราชสีมา 24%, เขื่อนคลองสียัด จ.ฉะเชิงเทรา 20%, เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก 19%, เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี 25%
เขื่อนขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำสูงกว่าเกณฑ์กักเก็บน้ำสูงสุด มีดังนี้
เขื่อนประแสร์ จ.ระยอง 70%