สทนช. ประกาศเตือนพื้นที่เสี่ยง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม เช็กจังหวัดเตรียมรับมือ 15 – 17 เมษายน 2568

วันที่ 15 เมษายน 2568 สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้ติดตามการคาดการณ์สภาพอากาศ พบว่าความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและทะเลจีนใต้ ทำให้ภาคเหนือและภาคกลางยังคงมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น ทั้งนี้ สทนช. ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำตามฝนคาดการณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยา และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำหลากและพื้นที่เสี่ยงดินโคลนถล่มบริเวณพื้นที่ต้นน้ำ จากกรมทรัพยากรน้ำและกรมทรัพยากรธรณี พบว่ามีพื้นที่บางส่วนเสี่ยงต้องเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม น้ำท่วมขังในเขตชุมชนเมืองที่เกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำเนื่องจากระบายไม่ทัน ในช่วงวันที่ 15 – 17 เมษายน 2568 ดังนี้

1. ภาคเหนือ

  • จังหวัดเชียงราย (อำเภอเวียงป่าเป้า) 
  • จังหวัดเชียงใหม่ (อำเภอเมืองเชียงใหม่ จอมทอง เชียงดาว ดอยสะเก็ด ดอยหล่อ พร้าว  แม่แจ่ม แม่แตง แม่ริม แม่วาง แม่ออน สันกำแพง สันทราย และอมก๋อย) 
  • จังหวัดแม่ฮ่องสอน (อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน และแม่สะเรียง) 
  • จังหวัดลำปาง (อำเภอเมืองลำปาง งาว แจ้ห่ม เมืองปาน วังเหนือ สบปราบ เสริมงาม และห้างฉัตร)
  • จังหวัดลำพูน (อำเภอเมืองลำพูน บ้านธิ ป่าซาง และแม่ทา) 
  • จังหวัดพะเยา (อำเภอปง) จังหวัดแพร่ (อำเภอสอง) 
  • จังหวัดตาก (อำเภอท่าสองยาง และอุ้มผาง)

2. ภาคกลาง 

  • จังหวัดสระบุรี (อำเภอแก่งคอย)

...

3. ภาคตะวันออก

  • จังหวัดตราด (อำเภอเขาสมิง และบ่อไร่)

4. ภาคตะวันตก

  • จังหวัดกาญจนบุรี (อำเภอเมืองกาญจนบุรี ทองผาภูมิ ไทรโยค บ่อพลอย ศรีสวัสดิ์ สังขละบุรี และหนองปรือ)
  • จังหวัดเพชรบุรี (อำเภอแก่งกระจาน)

5. ภาคใต้

  • จังหวัดระนอง (อำเภอกระบุรี)
  • จังหวัดสุราษฎร์ธานี (อำเภอชัยบุรี พนม บ้านตาขุน พระแสง และเวียงสระ)
  • จังหวัดพังงา (อำเภอเมืองพังงา กะปง คุระบุรี ทับปุด และท้ายเหมือง)
  • จังหวัดกระบี่ (อำเภอเมืองกระบี่ เขาพนม คลองท่อม ปลายพระยา เหนือคลอง และอ่าวลึก)
  • จังหวัดตรัง (อำเภอกันตัง วังวิเศษ สิเกา และห้วยยอด)
  • จังหวัดสตูล (อำเภอเมืองสตูล ควนกาหลง ควนโดน ท่าแพ ทุ่งหว้า มะนัง และละงู)
  • จังหวัดนครศรีธรรมราช (อำเภอฉวาง ชะอวด ช้างกลาง ถ้ำพรรณรา ทุ่งสง ทุ่งใหญ่ และนาบอน)
  • จังหวัดพัทลุง (อำเภอเมืองพัทลุง ควนขนุน ป่าบอน และป่าพะยอม)
  • จังหวัดสงขลา (อำเภอนาทวี คลองหอยโข่ง ควนเนียง รัตภูมิ สะเดา และสะบ้าย้อย)
  • จังหวัดยะลา (อำเภอเมืองยะลา กรงปินัง กาบัง ธารโต บันนังสตา เบตง ยะหา และรามัน)
  • จังหวัดนราธิวาส (อำเภอจะแนะ และระแงะ)

ในการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้

1. เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ รวมถึงความพร้อมของระบบสื่อสารสำรอง เพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือได้ทันที

2. ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ และแจ้งเตือนล่วงหน้า ให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เตรียมพร้อมในการขนของขึ้นสู่บริเวณที่สูงหรืออพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์