ปัจจุบันสินค้าแปรรูปของไทย โดยเฉพาะผลไม้แปรรูป ได้รับความนิยมทั้งจากตลาดภายในและนอกประเทศ ซึ่งส่งผลดีต่อประเทศ ทั้งในแง่ผู้ประกอบการและตัวเกษตรกร
เพราะตลาดดังกล่าวเริ่มส่อแววสดใสขึ้น บริษัท Global Market Insights Inc. บริษัทวิจัยและที่ปรึกษาด้านการตลาดในสหรัฐฯ พบว่าตลาดสินค้าของกินเล่นที่ทำด้วยผลไม้ (Fruit Snacks) ในตลาดภูมิภาคอเมริกาเหนือ กำลังเติบโตขึ้นอย่างมาก
ข่าวแนะนำ
จะมีมูลค่าสูงถึง 18,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2569 โดยมีอัตราการเติบโตปีละ 3.6% ในช่วงระหว่างปี 2563-2569
สำหรับสินค้าที่ผู้บริโภคนิยม จะเน้นของกินเล่นที่ทำจากผลไม้ที่มีไฟเบอร์สูง ให้แคลอรีต่ำ มีปริมาณน้ำตาลน้อย เพราะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน ความดัน และโรคหัวใจ
ผลิตภัณฑ์ของกินเล่นที่ทำด้วยผลไม้ ที่จำหน่ายในตลาดนี้มีด้วยกันหลายรูปแบบ แยกออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่...ชนิดดัดแปลง เปลี่ยนโฉม เช่น ผลไม้ที่นำไปแปรรูปเป็นเกลียว, ผลไม้ที่นำไปแปรรูปเป็นแผ่น,ผลไม้ที่แปรรูปเป็นเจลลี่, ผลไม้แปรรูปเป็นชิ้น, ผลไม้รูปร่างต่างๆ, แซนด์วิชผลไม้, ผลไม้ให้พลังงาน, ผลไม้อบแห้ง
และ กลุ่มของทานเล่นชนิดคงรูปแบบตระกูลผลไม้ เช่น แอปเปิ้ล มะม่วง กล้วย แพร์ สับปะรด เบอร์รี สตรอว์เบอร์รี บลูเบอร์รี ราสเบอร์รี สับปะรด มะม่วง หรือกล้วย เป็นต้น
โดยมีกลุ่มผู้บริโภคมิลเลนเนียลเป็นกำลังขับเคลื่อนสำคัญ ประกอบกับวิถีชีวิตที่วุ่นวายของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป รวมถึงการบริโภคเพื่อสุขภาพ จึงมักเลี่ยงอาหารมื้อหลัก หันมากินของกินเล่นที่มีประโยชน์แทน
ทั้งนี้ สหรัฐฯนำเข้าผลไม้ทั้งสองแบบจากทั่วโลกในปี 2562 มูลค่า 2,075.08 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมี เวียดนาม ฟิลิปปินส์ บราซิล อินเดีย และไทย เป็นแหล่งนำเข้าสำคัญ
โดยสหรัฐฯนำเข้าจากไทยมูลค่า 36.81 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 11.85% สินค้าสำคัญของไทย ได้แก่ สับปะรดอบแห้ง มะละกอตากแห้ง มะพร้าวเกล็ด มะม่วงตากแห้ง ฝรั่งตากแห้ง มะขามแห้ง เป็นต้น
จึงเป็นโอกาสสำหรับเกษตรกร ผู้แปรรูป ผู้ประกอบการผลไม้ไทย เพราะเราเป็นประเทศผลิตผลไม้เมืองร้อนที่สำคัญของโลก แต่อย่ามองข้ามเรื่องของภาษีนำเข้าในสหรัฐฯ เพราะมีบางตัวเสียภาษี บางตัวไม่เสีย พร้อมกับวางแผนผลิตตามที่ตลาดเขาต้องการ.
สะ–เล–เต