ไปร่วมงานองค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ (อกท.) ที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุราษฎร์ธานี

สะดุดตาที่ดอกไม้แปลกตา ชื่อ...บัวผุด หรือบัวตูม ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rafflesia kerrii ชื่อภาษาอังกฤษ Rafflesia Kerrii เป็นกาฝากชนิดหนึ่ง อาศัยอยู่บนรากของพืชสกุลเครือเขาน้ำ หรือ Tetrastigma

เป็นไม้เลื้อย พบในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนของเอเชีย มาเลเซีย ออสเตรเลีย ในป่าดิบตั้งแต่แหลมมลายูลงไป ลักษณะเด่นที่ดอก เป็นดอกเดียวมีขนาดใหญ่ ผุดขึ้นจากพื้นดิน

ขณะยังดอกตูมอยู่ จะดูคล้ายกับหม้อขนาดใหญ่ มีกลีบหนาจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางของดอก 70-80 ซม. ที่โคนของดอกมีกลีบนำสีน้ำตาลอมเหลืองเรียงสลับซับซ้อนกันอยู่มาก ภายในดอกจะมีแผ่นแบนคล้ายจาน

ด้านบนของจานจะมีปุ่มคล้ายหนามแหลม จานนี้จะซ่อนเกสรตัวผู้ และรังไข่ไว้ด้านล่าง เมื่อดอกยังสดอยู่ดอกบัวผุดจะมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 10 กิโลกรัม กลีบดอกมีความหนาตั้งแต่ 0.5-1 เซนติเมตร ใช้เวลาในการเติบโตนานกว่า 9 เดือน ดอกจะบานอยู่ได้เพียง 4-5 วันเท่านั้น หลังจากนั้นจะค่อยๆดำเน่าผุพังสลายไป

ในประเทศไทยพบได้เฉพาะในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาสก อ.พนม จ.สุราษฎร์ธานี...ถือเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี

บัวผุด...ที่พบในประเทศไทย ได้รับการตั้งชื่อเป็นสปีชีส์ของโลกเมื่อ พ.ศ.2527 โดย Dr. W.Meijer จากมหาวิทยาลัยเคนตักกี สหรัฐอเมริกา ได้ตั้งชื่อพฤกษศาสตร์สากล เพื่อเป็นเกียรติแก่นายแพทย์ชาวไอริส Dr.A.F.G.Kerr ผู้สำรวจพันธุ์ไม้ชนิดนี้เป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2472

ถูกจัดให้เป็นดอกไม้ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย

ดอกบัวผุดในอุทยานแห่งชาติเขาสกมีให้ชมได้ตั้งแต่พฤศจิกายน-เมษายนของทุกปี.

...