Credit : Bordy et al, 2020

ลุ่มน้ำการู (Karoo Basin) ทางตอนใต้ของแอฟริกามีชื่อเสียงในเรื่องของหินอัคนีขนาดใหญ่ที่เหลือจากการไหลของลาวาในต้นยุคจูราสสิก ช่วงเวลานั้นคาดว่ากิจกรรมของภูเขาไฟที่รุนแรงจะมีผลกระทบอย่างมากต่อสภาพแวดล้อมและชั้นบรรยากาศโลกพร้อมกันกับการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ทั่วโลก ที่แสดงให้เห็นในซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิล (fossil) และซากฟอสซิลในลุ่มน้ำการูก็มีหลายสิ่งที่บ่งบอกว่าระบบนิเวศตอบสนองต่อความเครียดเนื่องจากสิ่งแวดล้อมเหล่านั้น อย่างไร

เมื่อเร็วๆนี้มีรายงานลงในวารสารพลอส วัน โดยทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคปทาวน์ ในแอฟริกาใต้ ได้อธิบายและระบุถึงรอยเท้าของสิ่ง
มีชีวิตถูกเก็บรักษาไว้ในชั้นหินทรายที่อยู่ระหว่างพื้นที่ลาวาหลากเมื่อ 183 ล้านปีก่อน ทีมพบว่ามี 5 เส้นทางการเดิน และ 25 รอยเท้าเป็นของ
สัตว์ 3 ชนิด คือ Synapsid ที่อาจมีขนาดเล็กในกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและบรรพบุรุษของพวกมัน ลำดับต่อมาคือสัตว์สองเท้าขนาดใหญ่อย่างไดโนเสาร์กินเนื้อ และไดโนเสาร์กินพืชขนาดเล็กกว่า 4 เท่าอันเป็นตัวแทนของซาก ichno species ชนิดใหม่ ซึ่งฟอสซิลร่องรอยเหมือนรอยเท้าได้รับการจัดอนุกรมวิธานเรียกว่า ichno species

ทีมวิจัยเผยว่า ฟอสซิลเหล่านี้เคยเป็นของสัตว์ตัวสุดท้ายที่รู้กันว่าอาศัยอยู่ในลุ่มน้ำการู ก่อนที่ลาวาจะท่วม ชั้นหินทรายได้รักษารอยเท้าเหล่านี้ไว้ในช่วงที่ลาวาไหลหลาก แสดงให้เห็นว่ามีสัตว์หลายชนิดรอดชีวิตในพื้นที่ แม้หลังจากการปะทุของภูเขาไฟ ภูมิภาคแถบนั้นจะกลายเป็นดินแดนที่เต็มไปด้วยเปลวเพลิงก็ตาม.