พ.ร.บ.มั่นคงไซเบอร์ 2562 ที่เพิ่งออกมา น่ากลัวจริงหรือ?
มีนักกฎหมาย นักวิชาการเคยวิเคราะห์ว่า ข้อ 3.2 เป็นจุดน่ากังวล เพราะกฎหมายจงใจใช้ถ้อยคำที่ตีความได้กว้าง เช่น “อันกระทบหรืออาจกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ...”
ทำให้คิดได้ว่า การเขียนกฎหมายเช่นนี้ เสี่ยงต่อการที่ผู้มีเจตนาไม่ดีคุกคามประชาชน หรือใช้แทรกแซง สกัดกั้น ผู้เห็นต่างทางการเมือง มันก็เป็นไปได้?
ความกังวลเริ่มชัดเจนขึ้น...เมื่อดูมาตรา 61 ความว่า เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์สถานการณ์ และประเมินผลกระทบจากภัยคุกคามไซเบอร์ เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) มีอำนาจขอความร่วมมือบุคคลมาให้ข้อมูล หรือทำข้อมูลเป็นหนังสือเกี่ยวกับภัยคุกคามไซเบอร์
กฎหมายบอกอีกว่า กรณีเร่งด่วน เจ้าหน้าที่จะยึด-ค้น-เจาะระบบ-ทำสำเนา ไม่ต้องขอหมายเรียก หมายค้น หมายอาญาจากศาลยุติธรรม!
มาตรา 65 ใจความว่า กรณีที่คณะกรรมการกำกับดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (กกม.) เห็นว่ามีภัยคุกคามระดับร้ายแรงขึ้นไป สามารถตรวจค้นหรือทำสำเนาข้อมูลในคอมพิวเตอร์ หรือในระบบได้
รวมถึงยึดหรืออายัดคอมพิวเตอร์ไว้ได้ หากมีเหตุอันควรเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับภัยคุกคาม!
กฎหมายผ่อนคลายนิดนึง ที่ให้อำนาจศาลตรงเรื่องการเข้าถึงข้อมูลหรือระบบคอมพิวเตอร์ การทำสำเนา การเจาะระบบ หรือยึดอายัด ต้องขอหมายศาล แต่กรณีเร่งด่วนมีภัยคุกคามระดับวิกฤติตามมาตรา 67 สามารถใช้ดุลพินิจดำเนินการได้เลย รวมทั้งสอดส่องข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ (Real-time) อีกด้วย
แถมกฎหมายให้อำนาจนำข้อมูลการสื่อสาร ไปขยายผลดำเนินคดีตามกฎหมายอื่นได้อีก!
กฎหมายยังให้อำนาจรัฐออกคำสั่งไปยังผู้เป็นเจ้าของ ผู้ครอบครอง หรือผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับภัยคุกคามไซเบอร์ เพื่อป้องกันภัยคุกคาม เช่น ให้เฝ้าระวังคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ในช่วงเวลาใด ระยะเวลาหนึ่ง...ตรวจสอบคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์เพื่อหาข้อบกพร่อง...ดำเนินการแก้ไขภัยคุกคามไซเบอร์ หรือข้อบกพร่อง หรือกำจัดชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ (ไวรัสคอมพิวเตอร์)...รักษาสถานะของข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์เพื่อดำเนินการทางนิติวิทยาศาสตร์
...
ที่มาที่ไปของการออกกฎหมายฉบับนี้ เพื่อป้องกันการถูกภัยคุกคามไซเบอร์ตามกระแสโลก
ยืนยันว่า กฎหมายฉบับนี้น่ะดี จะมีแต่ผู้บังคับใช้กฎหมายที่แย่ เท่านั้น...ที่ทำให้เสียหาย?
"สหบาท"