มูลนิธิไทยรัฐ ผอ.ร.ร. สำนักงานเขตการศึกษา พร้อมผู้ปกครอง และชุมชนร่วมประชาพิจารณ์รับโรงเรียนบ้านร่องส้าน ต.ร่มเย็น อ.เชียงคำ จ.พะเยา ร่วมโครงการฯ เป็น ร.ร.ไทยรัฐวิทยา ๑๐๙ (บ้านร่องส้าน)

เมื่อเวลา 10.00 น. วันท่ี 1 เม.ย. ท่ีโรงเรียนบ้านร่องส้าน หมู่ 12 บ้านทุ่งรวงทอง ต.ร่มเย็น อ.เชียงคำ จ.พะเยา คณะกรรมการมูลนิธิไทยรัฐ นำโดย นายมานิจ สุขสมจิตร บรรณาธิการอาวุโส และประธานโครงการโรงเรียนไทยรัฐวิทยาเพื่อชุมชนในชนบท พร้อมด้วยนายวิเชน โพชนุกูล เลขาธิการมูลนิธิไทยรัฐได้เดินทางมาดูความพร้อม ร.ร.บ้านร่องส้าน เพื่อรับเข้าโครงการ โดยมีนายพิชิต เตชะนา ผอ.ร.ร.บ้านร่องส้าน, นายทินกร อินทรนาม ผอ.สำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาประถมศึกษา (สพป.) พะเยา เขต 2 พร้อมผู้ปกครอง และชุมชนให้การต้อนรับ และร่วมทำประชาพิจารณ์

ผู้ปกครอง และชุมชนร่วมประชาพิจารณ์รับโรงเรียนบ้านร่องส้าน ต.ร่มเย็น อ.เชียงคำ จ.พะเยา ร่วมโครงการฯ เป็น ร.ร.ไทยรัฐวิทยา ๑๐๙ (บ้านร่องส้าน)
ผู้ปกครอง และชุมชนร่วมประชาพิจารณ์รับโรงเรียนบ้านร่องส้าน ต.ร่มเย็น อ.เชียงคำ จ.พะเยา ร่วมโครงการฯ เป็น ร.ร.ไทยรัฐวิทยา ๑๐๙ (บ้านร่องส้าน)

บรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น และยกมือให้การยอมรับ ทั้งผู้ปกครองและชุมชนในการเข้าร่วมโครงการฯ เป็น ร.ร.ไทยรัฐวิทยา ๑๐๙ (บ้านร่องส้าน)

นายพิชิต กล่าวว่า เป็นความโชคดี ของ ร.ร.บ้านร่องและชุมชนได้รับการวิเคราะห์สนับสนุนจากทาง นสพ.ไทยรัฐ และทางมูลนิธิไทยรัฐ มาช่วยสนับสนุน และพัฒนา ร.ร.บ้านร่องส้านนี้ จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ปฐมวัยถึงมัธยมศึกษามีนักเรียน 635 คน บุคลากรทั้ง ผอ. ครู และครูอัตราจ้าง รวม 43 คน

นายมานิจ สุขสมจิตร บรรณาธิการอาวุโส และประธานโครงการโรงเรียนไทยรัฐวิทยาเพื่อชุมชนในชนบท กล่าวถึงที่มาของการก่อตั้งร.ร.ไทยรัฐวิทยาตั้งแต่แห่งแรกจนถึงปัจจุบัน
นายมานิจ สุขสมจิตร บรรณาธิการอาวุโส และประธานโครงการโรงเรียนไทยรัฐวิทยาเพื่อชุมชนในชนบท กล่าวถึงที่มาของการก่อตั้งร.ร.ไทยรัฐวิทยาตั้งแต่แห่งแรกจนถึงปัจจุบัน

นายมานิจ กล่าวว่า โครงการ ร.ร.ไทยรัฐวิทยาเพื่อชุมชนในชนบทมี 2 องค์กรท่ีดูแล คือ นสพ.ไทยรัฐ และมูลนิธิไทยรัฐ โดยอดีต ผอ.นสพ.ไทยรัฐ นายกำพล วัชรพล ซึ่งได้รับการประกาศจากยูเนสโก เป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้านสื่อสารมวลชน และการศึกษา ได้ริเริ่มก่อตั้งหนังสือพิมพ์มาตั้งแต่ปี 2493 ซึ่งได้รับการอุปการะและเกื้อหนุนจากประชาชนมาจนเป็น นสพ.ไทยรัฐจนทุกวันนี้ จึงคิดว่าควรต้องตอบแทนพี่น้องประชาชน ก็บอกว่าเราต้องทำบุญและท่ีดีท่ีสุดคือวิทยาทานจึงมีการตั้ง ร.ร.ไทยรัฐวิทยามาตั้งแต่ปี 2512 และมี ร.ร.ไทยรัฐวิทยา 1 (บ้านหัวช้าง) อยู่ท่ีจังหวัดลพบุรี ในปี 2513 และมีเพิ่มขึ้นมากมาย จึงมีการตั้งมูลนิธิไทยรัฐในปี 2523 ขึ้นมาเพื่อดูแล ร.ร.ไทยรัฐวิทยา จนกระทั่งมี ร.ร.ไทยรัฐวิทยา ๑๐๑ เฉลิมพระเกียรติ ท่ีจังหวัดร้อยเอ็ด จึงให้หยุดเพิ่มปริมาณแต่ให้เพิ่มคุณภาพ

ทางมูลนิธิไทยรัฐ ได้เข้าไปสนับสนุนโครงการต่างๆ กว่า 20 โครงการ เช่น โครงการอาหารกลางวัน รวมถึงเรื่องอุปกรณ์การศึกษา และอบรมบุคลากร ที่สำคัญ ยังเพิ่มหลักสูตรอีก 2 วิชา คือ วิชาความรอบรู้เรื่องสื่อ และวิชาพลเมืองดี เพราะทุกวันนี้สื่อสังคมออนไลน์มีทั้งเรื่องจริงและไม่จริง เด็ก ร.ร.ไทยรัฐวิทยาต้องรู้ว่าสื่อไหนเชื่อไม่ได้ และไม่แชร์ต่อ เพราะจะเป็นอันตรายต่อตัวเองและสังคม ทั้งยังสอนให้เด็กทำสื่อง่ายๆ ในรูปแบบหนังสือพิมพ์เสมือนจริง และสอนเป็นผู้ประกาศ ทั้งสอนให้เด็กเป็นคนดี ตามพระบรมราโชวาทของ ในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่ทรงมอบไว้ในพิธีเปิดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 6 ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี (วันพฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม 2512) เรื่องการส่งเสริมคนดีให้ปกครองประเทศ

ด้านนายทินกร กล่าวว่า โครงการนี้เป็นมีประโยชน์ต่อการศึกษาและชุมชน รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ มูลนิธิไทยรัฐ เข้ามาให้การสนับสนุน จะทำให้มีการพัฒนาการศึกษาให้นักเรียนและบุคลากร ทั้งด้านงบประมาณและการฝึกอบรมต่างๆ ในอนาคต ซึ่งทางสำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาประถมศึกษา (สพป.) พะเยา เขต 2 พร้อมกับชุมชนยินดีต้อนรับ และขอเป็นส่วนร่วมสนับสนุนส่งเสริมอย่างเต็มที่ สำหรับขั้นตอนต่อจากนี้ จะมีการนำเสนอไปยังคณะกรรมการศึกษาธิการ (กศจ.) พะเยาเพื่อประกาศชื่อเป็น ร.ร.ไทยรัฐวิทยา ๑๐๙ (บ้านร่องส้าน)