เป็นเรื่องใหม่ในสังคมไทยคำว่า “การเสพติด” ไม่ใช่แต่ปัญหาพฤติกรรมการเสพยาเสพติดเท่านั้น นักวิทยาศาสตร์ปัจจุบันเริ่มยอมรับความคิดที่ว่า การเสพติดไม่จำเป็นต้องมียาเสพติดเข้ามาเกี่ยวข้องก็ได้

วิถีชีวิตสมัยใหม่นำไปสู่การมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสพติดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งการเสพติดสิ่งต่างๆ หากมากเกินไปก็นำไปสู่การเกิดปัญหาต่างๆ ในสังคม การกระทำผิดกฎหมายไม่ใช่แค่การเสพยาเสพติด มีโอกาสกระตุ้นและส่งผลให้ส่งคนเข้าสู่เรือนจำเพิ่มขึ้น ทำให้สถานการณ์บางประเทศประสบปัญหาผู้ต้องขังล้นเรือนจำ

ที่เรียกว่าเสพติดการใช้การคุมขัง

งานวิจัยจำนวนมากในปัจจุบันแสดงให้เห็นว่า การเสพติดพฤติกรรม ทำให้เกิดการสนองในสมองด้วยรูปแบบเดียวกันที่เกิดขึ้นหลังจากการใช้ยาเสพติด มีรายงานของกรมแพทย์ทหารสหรัฐอเมริกาช่วยยืนยันเรื่องที่วงการวิทยาศาสตร์กล่าวมาโดยตลอดว่า การเสพติดเป็นโรคอย่างหนึ่ง มิใช่ความล้มเหลวทางศีลธรรม

แต่ลักษณะการเสพติดหมายถึงการกระทำกิจกรรมอย่างหนึ่งซ้ำแล้วซ้ำเล่าอย่างไม่อาจหักห้ามใจได้ แม้จะส่งผลเสียต่อชีวิต เป็นส่วนหนึ่งของโครงการกำลังใจฯ โดยสำนักกิจการในพระราชดำริ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ร่วมกับศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคเหนือ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด

จัดการสัมมนาเรื่อง “การเสพติด ย้อนอดีตสู่อนาคต” และ “ปัญหาทางออก” รวบรวมความคิดและประสบการณ์เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาการเสพติด โดยมี พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.ยุติธรรม และ ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ร่วมเปิดงาน

พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา องคมนตรี และอดีต รมว.ยุติธรรม ร่วมปาฐกถาพิเศษ ร่วมกับตัวแทน มหาวิทยาลัยไซมอน เเฟรเซอร์ และการเสวนาเรื่อง “หลากหลายมุมมองต่อปัญหาการเสพติดและคนล้นคุก” โดย ศ.(พิเศษ) จรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต ศ.ธเนศ วงศ์ยานนาวา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาธรรมศาสตร์

...

รณรงค์ให้สังคมตระหนัก “พฤติกรรมการเสพติด” ของมนุษย์ ไม่จำเป็นต้องเกิดจากยาเสพติดดังที่เคยเข้าใจกันมาแต่เดิม แต่อาจเกิดได้จากพฤติกรรมต่างๆที่เกิดขึ้น เรียกว่าการเสพติดพฤติกรรม

กำลังเป็นปัญหาใหญ่ในสังคมไทย

เพื่อนำประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญ และงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ เข้าใช้ในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการเสพยาเสพติด และ “การเสพติด” ในด้านต่างๆที่มากเกินไป และกลายเป็นปัญหาของสังคม

เช่นเดียวปัญหายาเสพติดในปัจจุบัน.

“เพลิงพยัคฆ์”