ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในเปรู ประท้วงนโยบายใหม่ของทางการ ที่ห้ามผู้โดยสารซ้อนท้ายรถ และผู้ขับรถส่งสินค้าต้องสวมเสื้อกั๊กที่มีเลขทะเบียนติดอย่างชัดเจน เพื่อหวังลดการเกิดอาชญากรรม

ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในเปรู ประท้วงนโยบายใหม่ของทางการ ที่ห้ามผู้โดยสารซ้อนท้ายรถ และผู้ขับรถส่งสินค้าต้องสวมเสื้อกั๊กที่มีเลขทะเบียนติดอย่างชัดเจน เพื่อหวังลดการเกิดอาชญากรรม

กระทรวงคมนาคมและการขนส่งเปรู ได้อนุมัติกฎระเบียบใหม่ ที่บังคับใช้เมื่อวันที่ 14 เมษายน ที่ระบุให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ห้ามบรรทุกผู้โดยสาร รวมถึงกำหนดให้ผู้ขับขี่ต้องสวมหมวกกันน็อคที่ไม่มีอุปกรณ์ปิดบังใบหน้า และสวมเสื้อกั๊กที่มีเลขป้ายทะเบียนที่มองเห็นได้ หากไม่ปฏิบัติตามจะถือว่ามีโทษปรับตามมาตรา S/428 เพื่อแสดงความพอใจต่อนโยบายดังกล่าว พนักงานส่งของ คนงาน และสมาคมรถจักรยานยนต์ได้ออกตระเวนตามจุดสำคัญต่างๆ ในเมืองหลวงเพื่อประท้วงมาตรการเหล่านี้

คืนวันพฤหัสบดี (24 เม.ย.) กลุ่มคนขับรถจักรยานยนต์ได้รวมตัวกันตามจุดต่างๆ ทั่วกรุงลิมา  เพื่อแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับมาตรการจำกัดการเดินทางในพื้นที่ที่มีภาวะฉุกเฉิน และจำกัดจำนวนผู้โดยสารต่อคันรถ กลุ่มผู้จัดการประท้วงระบุว่า มาตรการดังกล่าวไม่เพียงแต่ละเลยความเป็นจริงของการขนส่งในเมืองเท่านั้น แต่ยังส่งผลโดยตรงต่อรายได้ของคนงานหลายพันคนที่ต้องพึ่งพาการขนส่งรูปแบบนี้เพื่อเลี้ยงดูครอบครัวอีกด้วย

ความไม่พอใจของผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ข้อจำกัดแค่เรื่องผู้โดยสารเท่านั้น พวกเขายังแสดงความไม่เห็นด้วยกับกฎหมายที่กำหนดให้คนขับส่งของต้องสวมเสื้อกั๊กสีสะท้อนแสง ที่มีหมายเลขทะเบียนรถที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน ซึ่งสหภาพแรงงานระบุว่า การบังคับใช้เสื้อกั๊กและป้ายทะเบียนที่มองเห็นได้ จะทำให้คนขับตกเป็นเป้าหมายของการโจรกรรมได้ง่าย และเสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรมมากขึ้น

...

แม้จะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ แต่รัฐบาลก็ยังคงยืนหยัดในจุดยืนดังกล่าว หลังจากประกาศห้ามบุคคล 2 คนขี่มอเตอร์ไซค์อย่างเป็นทางการในกรุงลิมาและกัลลาโอ โดยโต้แย้งว่า การที่คนสองคนขี่รถจักรยานยนต์ ถือเป็นวิธีการปล้นทรัพย์ด้วยอาวุธที่นิยมใช้กันในสภาพการจราจรที่คับคั่งของกรุงลิมา อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร เจ้าหน้าที่เทศบาล และนักดับเพลิง ได้รับการยกเว้นจากข้อจำกัดเหล่านี้

นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมและการขนส่งเปรู ได้กำหนดให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์และผู้โดยสารใช้หมวกกันน็อคเพื่อความปลอดภัยเพียงสี่ประเภทเท่านั้น ได้แก่ แบบเต็มใบ แบบมอเตอร์ครอส แบบโมดูลาร์ และแบบเปิดหน้า และระบุว่าหมวกกันน็อคทุกใบที่มีบังตาจะต้องโปร่งใสเพื่อให้สามารถระบุใบหน้าได้ "สำหรับหมวกกันน็อคแบบไม่มีบังตา ต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันดวงตาที่เทียบเท่ากับบังตา และต้องโปร่งใส".

ที่มา La República

อ่านข่าวเพิ่มเติม https://www.thairath.co.th/news/foreign