• ซีรีส์เรื่อง 3 Body Problem หรือ "ดาวซานถี่ อุบัติการณ์สงครามล้างโลก" ความยาว 8 ตอน บนเน็ตฟลิกซ์ (Netflix) ซึ่งสร้างจากนิยายวิทยาศาสตร์ชื่อดังของจีน กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากเต็มไปด้วยแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ที่ซับซ้อน
  • ซีรีส์ทางเน็ตฟลิกซ์เรื่องนี้ สร้างจากหนังสือเล่มแรกจากไตรภาคนิยายไซ-ไฟ วิทยาศาสตร์ไตรภาคของ หลิวฉือซิน นักเขียนชาวจีน ซึ่งมีชื่อว่า "รำลึกแห่งอดีตกาลของโลก" (the Remembrance of Earth's Past) โดยเนื้อหาในนิยายทั้งสามเล่ม ผู้เขียนนิยายตั้งใจให้มีรายละเอียดทางวิทยาศาสตร์อยู่ในเรื่อง 
  • ข้อความตอนต้นฉบับแปลภาษาอังกฤษของ 3 Body Problem ระบุว่า "ตลอด 40 วันในกรุงปักกิ่งเพียงแห่งเดียว เหยื่อการต่อสู้มากกว่า 1,700 รายถูกทำร้ายจนเสียชีวิต" "อีกหลายคนเลือกเส้นทางที่ง่ายกว่าเพื่อหลีกเลี่ยงความบ้าคลั่ง" นวนิยายเรื่องนี้เล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นในปี 2510 หรือในช่วง 10 ปีของการปฏิวัติวัฒนธรรมของจีนที่มีผู้เสียชีวิตถึงสองล้านคน ในขณะที่ "กลุ่มยุวชนเรดการ์ด" ได้เคลื่อนไหวเพื่อเสริมสร้างนโยบายคอมมิวนิสต์ของเหมาเจ๋อตง เหยื่อจำนวนมากฆ่าตัวตายเพื่อ "ยุติความเจ็บปวดจากการประหัตประหาร"

ซีรีส์เรื่อง 3 Body Problem ของ Netflix ดัดแปลงมาจากนิยายไซไฟขายดีของจีนที่ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยผู้สร้างซีรีส์ชื่อดัง Game of Thrones แม้ว่าจีนจะเซนเซอร์ซีรีส์แนวนี้มาอย่างยาวนานก็ตาม

มันเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นในกรุงปักกิ่ง เมื่อปี 1967 เย่เหวินเจี๋ย นักเรียนฟิสิกส์ดาราศาสตร์เห็นพ่อของเธอถูกกลุ่มยุวชนเรดการ์ดทุบตีจนเสียชีวิต ต่อมาเธอเข้าร่วมโครงการทางทหารในมองโกเลียโดยเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษโดยมีเงื่อนไขว่าเธอไม่สามารถออกจากฐานทัพได้ นั่นทำให้เธอสูญเสียศรัทธาในมนุษยชาติทั้งหมด เธออุทิศชีวิตให้กับการวิจัยของเธอ สร้างความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ที่นำไปสู่การกระจายสัญญาณวิทยุกำลังสูงสู่ห้วงอวกาศ ที่นำไปสู่ผลกระทบร้ายแรง และทั้งหมดมีต้นกำเนิดมาจากวันแห่งโชคชะตาในกรุงปักกิ่ง

...

นี่เป็นเพียงภาพรวมของโครงเรื่องที่ครอบคลุมจักรวาลของ 3 Body Problem ซึ่งเป็นมหากาพย์นิยายวิทยาศาสตร์ที่เล่าถึงโครงการวิทยาศาสตร์ลับ สิ่งมีชีวิตต่างดาวในระบบสุริยะที่อยู่นอกเหนือดวงดาว และวิดีโอเกมแปลกๆ ที่บรรยายถึงความรุ่งเรืองและการล่มสลายของอารยธรรมอันยิ่งใหญ่ที่สืบทอดกันมาหลายพันปี ซึ่งเป็นหนังสือเล่มแรกของนิยายไซ-ไฟ วิทยาศาสตร์ไตรภาคของ หลิวฉือซิน นักเขียนชาวจีน ซึ่งหนังสือเล่มแรกในไตรภาคชุดนี้มีชื่อว่า "รำลึกแห่งอดีตกาลของโลก (The Remembrance of Earth's Past) ซึ่งเคยเชื่อกันว่าไม่สามารถดัดแปลงมาเป็นซีรีส์หรือภาพยนตร์ได้ ทั้งจากประเด็นการข้ามเวลาที่ซับซ้อน ประเด็นข้อขัดแย้งทางปรัชญา และการสำรวจทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์อย่างจริงจัง แต่ตอนนี้ถูกนำมาฉายทั่วโลกผ่านทางเน็ตฟลิกซ์

สิ่งที่ชัดเจนกว่านั้นคือความสำเร็จอันเหลือเชื่อของนวนิยายต้นฉบับ ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร Science Fiction World ในประเทศจีนในปี 2549 และได้รับการแปลให้ผู้อ่านชาวตะวันตกโดยเคน หลิว ในปี 2557 ผู้ที่ชื่นชอบหนังสือเล่มนี้ยังรวมถึง บารัค โอบามา และ จอร์จ อาร์อาร์ มาร์ติน นักเขียน Game of Thrones และหลังจากได้รับรางวัล Hugo Award สาขานิยายยอดเยี่ยมในปี 2557 หนังสือเล่มนี้และภาคต่ออีก 2 ภาค ขายได้เกือบ 9 ล้านเล่มทั่วโลก ปัจจุบัน หลิวได้รับการยกย่องในฐานะผู้ที่ทำให้นิยายวิทยาศาสตร์จีนเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก

ข้อความตอนต้นฉบับแปลภาษาอังกฤษของ 3 Body Problem ระบุว่า "ตลอด 40 วันในกรุงปักกิ่งเพียงแห่งเดียว เหยื่อการต่อสู้มากกว่า 1,700 รายถูกทำร้ายจนเสียชีวิต" "อีกหลายคนเลือกเส้นทางที่ง่ายกว่าเพื่อหลีกเลี่ยงความบ้าคลั่ง" นวนิยายเรื่องนี้เล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นในปี 2510 หรือในช่วง 10 ปีของการปฏิวัติวัฒนธรรมของจีนที่มีผู้เสียชีวิตถึงสองล้านคน ในขณะที่ "กลุ่มยุวชนเรดการ์ด" ได้เคลื่อนไหวเพื่อเสริมสร้างนโยบายคอมมิวนิสต์ของเหมาเจ๋อตง เหยื่อจำนวนมากฆ่าตัวตายเพื่อ "ยุติความเจ็บปวดจากการประหัตประหาร" ซึ่งเป็นความจริงที่ถูกพาดพิงถึงผ่านการฆ่าตัวตายโดยไม่ทราบสาเหตุของนักวิทยาศาสตร์ในโครงเรื่องของ 3 Body Problem ในปัจจุบัน แต่สิ่งที่น่าสนใจยิ่งกว่าการที่ประวัติศาสตร์ที่แท้จริงได้กำหนดเหตุการณ์ต่างๆ ในงานของ Liu ก็คือ ระบอบการปกครองของเหมาจะกำหนดทิศทางของนิยายวิทยาศาสตร์ในโลกแห่งความเป็นจริงอย่างไร

ช่วงเวลาพักตัวของไซไฟ

ดร.ฮวา ลี่ ศาสตราจารย์ด้านการศึกษา ที่มหาวิทยาลัยรัฐมอนทานา และผู้แต่งหนังสือ เช่น Chinese Science Fiction during the Post-Mao Cultural Thaw กล่าวว่า หลิวเกิดในปี 2506 เพียงสามปีก่อนการปฏิวัติวัฒนธรรมเริ่มต้นขึ้น ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่นักวิทยาศาสตร์ นักเขียน และปัญญาชนอื่นๆ ถูกประณามว่าเป็นผู้ต่อต้านการปฏิวัติ และถูกส่งไปยังค่ายแรงงานเพื่อ "ปรับเปลี่ยนความคิด" นอกเหนือจากการโฆษณาชวนเชื่อของพรรคแล้ว ในช่วงเวลานี้ยังมีการตีพิมพ์วรรณกรรมเล็กๆ น้อยๆ และสำหรับนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ที่จะรับมือกับสถานการณ์ทางการเมืองที่วุ่นวายนั้นเป็นเรื่องยากเป็นพิเศษ เขากล่าวว่า "แนวคิดทั่วไปหลายอย่างถือเป็นข้อห้าม" ตัวอย่างเช่น ในยุคของเหมา หลักคำสอนของลัทธิมาร์กซิสต์-เลนิน ไม่ได้กำหนดเงื่อนไขว่ามนุษย์ต่างดาวในอวกาศจะมีความเป็นไปได้ในจักรวาล

ฮวา กล่าวว่า นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและความทะเยอทะยานทางวิทยาศาสตร์ที่แสดงถึงระบบทุนนิยมตะวันตก ทำให้นิยายวิทยาศาสตร์จีนยังคงไม่ตกเป็นเป้าสนใจมากนักตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1960 ถึง 1976 แต่ดังที่เปิดเผยไว้ในคำลงท้ายของ 3 Body Problem หลิวฉือซิน วัย 6 ขวบก็ต้องพบกับ "ความอยากรู้อยากเห็นและความปรารถนาอย่างสุดจะพรรณนา" หลังจากที่ได้เห็นดาวเทียมดวงแรกของจีนแล่นข้ามท้องฟ้าในเดือนเมษายน 2513 เมื่อค้นพบกล่องบรรจุหนังสือต่างๆ รวมถึง Journey to the Center of the Earth ของจูลส์ เวิร์น ใต้เตียงของพ่อเขาไม่กี่ปีต่อมา เขาพบว่าตัวเองมีความมุ่งมั่นบางอย่าง เช่นเดียวกับตัวละคร "เย่เหวินเจี๋ย" หลิวฉือซิน เคยกล่าวกับสื่อจีนว่า "ความพากเพียรของผมเกิดจากคำพูดของพ่อ" ซึ่งเป็นคนอธิบายว่า "สิ่งสร้างสรรค์ที่สร้างจากวิทยาศาสตร์จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเราได้อ่านมันด้วยตัวเองเท่านั้น"

...

ประธานเหมาถึงแก่กรรมในปี 2519 และเช่นเดียวกับที่ "ความสยดสยองที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิวัติวัฒนธรรมค่อยๆ ลดน้อยลง" สำหรับเย่เหวินเจี๋ยใน 3 Body Problem ยุคแห่งการปฏิรูปและการเปิดกว้างต่อลัทธิปัญญานิยมก็เช่นกัน และโลกตะวันตกก็เปิดโอกาสให้นิยายวิทยาศาสตร์เจริญรุ่งเรืองในช่วงสั้นๆ เช่นกัน หลังจากการขึ้นสู่อำนาจของเติ้งเสี่ยวผิงในปี 2520 ดังที่เติ้งประกาศในปีนั้นว่า "วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นกำลังการผลิตอันดับหนึ่ง" นิตยสารศิลปะและวรรณกรรมวิทยาศาสตร์เริ่มตีพิมพ์นิยายวิทยาศาสตร์ฉบับแปลและต้นฉบับในปี 2522 และหลิวในวัยเด็กก็เริ่มเขียนหนังสือเป็นครั้งแรก

ดร.ฮวา ลี่ กล่าวว่า ด้วยความระมัดระวังการแพร่กระจายความคิดของตะวันตกไปยังประเทศจีน ฝ่ายตรงข้ามของเติ้งเริ่มยืนหยัดต่อต้านนโยบายเสรีนิยมของเขา และในปี 2526 พรรคได้เริ่มการรณรงค์ต่อต้าน "มลพิษทางจิตวิญญาณ" ซึ่ง "มุ่งเป้าที่จะขุดรากถอนโคนแนวคิด 'เสรีนิยมชนชั้นนายทุน' ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากตะวันตก" หน่วยงานโฆษณาชวนเชื่อได้แยกประเภทแนวนิยายที่จำเป็นต้องมีการปราบปราม เช่น งานนิยายวิทยาศาสตร์ที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับผี ความรุนแรง เรื่องเพศ ข้อสันนิษฐานที่ต่อต้านวิทยาศาสตร์ และการวิพากษ์วิจารณ์ลัทธิสังคมนิยมที่ปกปิดไว้" ซึ่งถูกมองว่าเป็น "มลพิษทางจิตวิญญาณ" นักเขียนคนสำคัญอย่าง เย่หยงลี่ ที่เคยเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับการเดินทางในอวกาศในขณะที่จีนส่งดาวเทียมดวงแรกขึ้นสู่วงโคจร ถูกประณาม และนิตยสาร Scientific Art and Literature ถูกบังคับให้ตีพิมพ์ผลงานสารคดี โดยเปลี่ยนชื่อเป็น Strange Tales แม้ภายในเวลาไม่กี่เดือน เติ้งได้ยกเลิกนโยบายนี้ แต่นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์หลายคนรู้สึกผิดหวังและเจ็บปวดทางจิตใจ และออกจากวงการในที่สุด

แม้ว่านิยายวิทยาศาสตร์จะกลับมาอีกครั้ง ความอ่อนไหวทางการเมืองยังคงเป็นอุปสรรคขัดขวางความก้าวหน้า นวนิยายเต็มเรื่องแรกของหลิวฉือซิน เรื่อง China 2185 ในปี 2532 (แฟนตาซีไซเบอร์พังก์เกี่ยวกับการฟื้นคืนชีพของเหมาในความเป็นจริงเสมือน) ให้ตัวอย่างที่น่าสนใจของการเล่าเรื่องนิยายวิทยาศาสตร์ "ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ตีพิมพ์ เนื่องจากหัวข้อทางสังคมและการเมืองที่ละเอียดอ่อน (แต่ต่อมาได้รับการเผยแพร่ทางออนไลน์ และดร.ฮวา ลี่ เสริมว่าผลงานดังกล่าวหลายชิ้นจะถูกลบหลังจากนั้นไม่นาน) นวนิยายเรื่องนี้เขียนเสร็จเพียงสองเดือนก่อนที่กองทหารจะถูกจัดวางกำลังเพื่อปราบปรามการประท้วงอย่างรุนแรงในจัตุรัสเทียนอันเหมิน (ซึ่งเป็นที่ตั้งของบทเปิดของหนังสือ) ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบครั้งใหญ่ต่อ Science Fiction World (การเกิดใหม่ของศิลปะและวรรณกรรมทางวิทยาศาสตร์) ที่จัดการประชุมนักเขียนในเมืองเฉิงตูในปี 2534 ส่งผลให้มีนักเขียนต่างชาติเพียงสิบกว่าคนเท่านั้นที่เข้าร่วมงาน

...


นิยายวิทยาศาสตร์จีนในปัจจุบัน

ประเทศจีนในปัจจุบันเป็นสถานที่ที่แตกต่างจากยุคที่หลิวเติบโต หลังจากการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในช่วงทศวรรษที่ 1990 ปัจจุบันจีนเป็นประเทศที่มีความทันสมัยและเจริญรุ่งเรือง แต่ยังเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่องการใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้าเป็นเครื่องมือในการสอดแนมของรัฐ รวมถึงระบบเครดิตทางสังคมที่ให้คะแนนพลเมืองตามความน่าเชื่อถือ และโครงการอวกาศที่มีดาวเทียมมากเป็นอันดับสองของโลก ฮัน ซ่ง นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์กล่าวในบทความในวารสารของเขาเมื่อปี 2013 เรื่อง Chinese Science Fiction: A Response to Modernisation ว่า "การเปลี่ยนแปลงอันน่าตื่นตะลึงของจีนนั้นอยู่ในอนาคต" ซึ่งเขาอธิบาย "นิยายวิทยาศาสตร์" ซึ่งเป็นคำที่ใช้อธิบายความมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจของจีน ว่า "ความเป็นจริงมันเป็นเรื่องของนิยาย"

นอกจากนั้น นิยายวิทยาศาสตร์ยังเจริญรุ่งเรืองในประเทศจีนควบคู่ไปกับการพัฒนาทางเทคโนโลยี หนังสือของนักเขียนตะวันตกจากผู้ชนะรางวัล Hugo Award ทั้งของ ฟิลิป เค. ดิก และ อาร์เธอร์ ซี. คลาร์ก ปรากฏบนชั้นหนังสือในช่วงทศวรรษที่ 1990 ขณะที่ภาพยนตร์อย่าง Jurassic Park และ The Matrix ถูกฉายในโรงภาพยนตร์ และในช่วงเปลี่ยนศตวรรษ Science Fiction World มียอดจำหน่ายนิยายวิทยาศาสตร์ถึง 400,000 เล่ม ซึ่งมากที่สุดในบรรดาสิ่งพิมพ์ประเภทเดียวกัน ในปี 2542 ภาพยนตร์ที่ดัดแปลงจากนิยายของหลิวอีกเรื่องหนึ่งคือ The Wandering Earth ทำรายได้ทะลุบ็อกซ์ออฟฟิศจีนไป 673 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

...

ดร.ฮวา ลี่ กล่าวว่า "การเซนเซอร์ของรัฐบาลค่อนข้างเข้มงวดในประเด็นทางสังคมและการเมือง แต่ค่อนข้างผ่อนคลายในประเด็นเทคโนวิทยาศาสตร์" ด้วยเหตุนี้ นักเขียนส่วนใหญ่จะเซนเซอร์งานของตัวเอง แม้ว่าหัวข้อที่ละเอียดอ่อนอย่างเปิดเผย เช่น ประวัติศาสตร์ทางเลือก ก็ยังคงถูกหลีกเลี่ยงไปโดยสิ้นเชิง เมื่อปี 2556 เรื่องราวเกี่ยวกับการเดินทางข้ามเวลาถูกห้ามในละครโทรทัศน์เนื่องจากถูกมองว่าขาดความเคารพต่อประวัติศาสตร์จีน อย่างไรก็ตาม นักเขียนจีนยังสามารถวิพากษ์วิจารณ์ทางสังคมและการเมืองได้ "การวิพากษ์วิจารณ์การปฏิวัติวัฒนธรรมไม่ใช่หัวข้อต้องห้ามในจีน"

แม้ปรากฏการณ์ของหลิวจะถูกประกาศให้เป็นผู้ชนะรางวัล Hugo Award จากเอเชียคนแรกในปี 2558 โดยนักบินอวกาศที่อยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติ ห่างจากโลก 3.5 ล้าน กม. แต่หนังสือของเขาก็อดไม่ได้ที่จะทรยศต่อธรรมชาติที่ละเอียดอ่อนของความคิดของมัน ท้ายที่สุดแล้ว เรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงการปฏิวัติวัฒนธรรม (ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเปิด 3 Body Problem เวอร์ชันภาษาอังกฤษ) ถูกย้ายไปยังช่วงกลางของหนังสือต้นฉบับภาษาจีน เนื่องจากเกรงจะถูกกล่าวหาว่ามีความเป็นการเมืองมากเกินไปสำหรับการเซนเซอร์ของรัฐบาล เมื่อปี 2566 งาน Worldcon หรืองานประชุมระดับโลกด้านนิยายวิทยาศาสตร์ ซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกในประเทศจีน เผชิญกับความขัดแย้ง หลังจากที่ผู้ได้รับการเสนอชื่อหลายคน ได้รับการประกาศว่าไม่มีสิทธิ์รับรางวัล โดยไม่มีคำอธิบาย ทำให้เกิดความกังวลว่าพวกเขาตกเป็นเป้าหมายของพรรคคอมมิวนิสต์จีนจากเหตุผลทางการเมือง

เดวิด เบนิออฟ และ ดีบี ไวส์ ซึ่งเปิดตัวซีรีส์ 3 Body Problem ในเน็ตฟลิกซ์ ในลักษณะเดียวกับหนังสือเวอร์ชันภาษาอังกฤษ จะไม่ต้องกังวลเรื่องการเซนเซอร์ (ขณะที่การดัดแปลงทางโทรทัศน์ในรูปแบบที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิง สำหรับผู้ชมชาวจีน ได้เริ่มออกอากาศที่นั่นในเดือนมกราคม 2567) เช่นเดียวกับนักแสดงชาวตะวันตกซึ่งถ่ายทอดเรื่องราวที่ขยายออกและแตกต่างจากนวนิยายต้นฉบับของหลิว จะได้ทราบว่าผู้ชมรู้สึกอย่างไรในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า.

ที่มา BBC

ติดตามข่าวต่างประเทศเพิ่มเติมที่ https://www.thairath.co.th/news/foreign