ช่วงกลางเดือนที่ผ่านมา ได้มีการจัดประชุมสุดยอดเพื่อประชาธิปไตยครั้งที่ 3 จัดขึ้น ที่กรุงโซล ซึ่งแม้จะเป็นข่าวเท่าไร แต่นายปาร์ค ยงมิน เอกอัครราชทูตเกาหลีใต้ประจำประเทศไทย ให้ใจความสำคัญมาว่า ในการประชุมครั้งนี้ เมื่อวันที่ 20 มี.ค. นายกรัฐมนตรีไทยได้เข้าร่วมเป็นครั้งแรกนับแต่มีการประชุมดังกล่าว การประชุมนี้มิใช่การเฉลิมฉลองภายในกลุ่มประเทศที่มีประชาธิปไตยเต็มตัวเท่านั้น แต่เป็นเวทีที่ปรึกษาหารือแนวทางที่จะรักษาและปรับปรุงประชาธิปไตยในประเทศต่างๆที่แสวงหาประชาธิปไตยตามหลักการสากล
ระหว่างการประชุมนี้ นายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน แถลงว่า “ประชาธิปไตยที่ใช้ในที่หนึ่งอาจจะไม่ได้เหมาะกับการใช้ในทุกที่ แต่ส่วนสำคัญ คือ หลักการประชาธิปไตยต้องเป็นหนึ่งเดียวและเป็นสากล” และยังกล่าวว่า “ผู้นำต้องรับฟังและเคารพเจตจำนงของประชาชน รวมถึงต้องฟังจากเยาวชนมากขึ้น เพราะนั่นคือวิธีที่รับประกันได้ว่าประชาธิปไตยจะเติบโตต่อไปและเป็นรากฐานที่สำคัญสำหรับการพัฒนาของคนรุ่นต่อไปในอนาคต”
คำกล่าวข้างต้นมีความหมายสำคัญสำหรับอนาคตของประชาธิปไตยไทยระบอบประชาธิปไตย ต้องควบคู่ไปกับหลักนิติธรรม เนื่องจากหลักนิติธรรม เท่านั้นที่จะสามารถให้มาตรฐานที่มีเหตุผลและคาดเดาได้ในการควบคุม “เสรีภาพเพื่อไม่ให้มีการละเมิดเสรีภาพของผู้อื่น” อาจพูดง่าย แต่ไม่ง่ายในทางปฏิบัติอย่างที่หวัง เพราะเสรีภาพที่สมาชิกภายในประเทศแสวงหานั้น มักถูกละเมิด ด้วยลักษณะที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ
สำหรับสาธารณรัฐเกาหลีมีลักษณะเฉพาะคืออยู่ติดกับเกาหลีเหนือที่มีระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จมากที่สุดในโลก ตั้งแต่มีการแบ่งชาติ รัฐบาลเกาหลีแสวงหาการรวมชาติบนคาบสมุทรเกาหลีมาตลอด แต่นโยบายการรวมชาติที่ผ่านมาส่วนใหญ่เน้นว่ารวมชาติกัน “ด้วยวิธีใด” แต่ในสุนทรพจน์ที่ระลึกถึงการเคลื่อนไหวเพื่ออิสรภาพ 1 มี.ค. ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวที่ไร้ความรุนแรงของประชาชนในช่วงอาณานิคมญี่ปุ่น ประธานาธิบดี ยุน ซอก ยอล ประกาศว่า “การรวมชาติเป็นสิ่งที่เพิ่มคุณค่าสากลเช่น เสรีภาพและสิทธิมนุษยชน” ถือว่าเป็นคำประกาศที่โดดเด่น เพราะเป็นการพูดว่า รวมชาติกัน “เพื่ออะไร” มากกว่าที่จะถามว่า รวมชาติกัน “ด้วยวิธีใด”
...
หากสังคมไหนที่ไม่มีความเชื่อร่วมกันว่า มีคุณค่าสากลที่สมาชิกทุกคนยึดถือร่วมกันได้นั้น ย่อมไม่มีอนาคตที่เป็นประชาธิปไตย เกาหลีจะสนับสนุนการเดินทางประชาธิปไตยไทยตามที่นายกได้กล่าวไว้ว่า “เป็นกระบวนการต่อเนื่อง” เมื่อเสรีนิยมและประชาธิปไตยตกอยู่ในสภาวะวิกฤติบนคาบสมุทรเกาหลีในช่วงสงคราม ประเทศ ไทยได้ส่งกองทัพร่วมรบกับเกาหลีเพื่อปกป้องเสรีภาพและสันติภาพ
ประสบการณ์ดังกล่าวกลายเป็นพื้นฐานความเชื่อของประชาชนเกาหลีที่ว่า กำลังแบ่งปัน “หลักการเดียวที่เป็นสากล” กับประชาชนไทย.
คลิกอ่านคอลัมน์ “หน้าต่างโลก” เพิ่มเติม