ดาวเคราะห์ก่อตัวจากการหมุนวนของก๊าซและฝุ่นที่เรียกว่า “จานฝุ่นก๊าซก่อกำเนิดดาวเคราะห์” ซึ่งจานฝุ่นก๊าซนี้ล้อมรอบดาวฤกษ์ที่เพิ่งก่อตัวใหม่ แต่เมื่อดาวฤกษ์ดวงนั้นเติบโตมีอายุมากขึ้นและสิ้นอายุขัยไป ดาวฤกษ์ดวงนี้จะกลายเป็นดาวแคระขาว สามารถกลืนกินดาวเคราะห์และดาวเคราะห์น้อยที่มันสร้างได้

ล่าสุดนักดาราศาสตร์จากหอดูดาวและท้องฟ้าจำลองอาร์มา ในไอร์แลนด์เหนือ เผยว่า ใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่มากของหอดูดาวยุโรปซีกใต้ ในชิลี ทำให้สังเกตพบดาวฤกษ์ที่สิ้นชีพไปแล้ว ซึ่งกลายเป็นดาวแคระขาว ได้รับการตั้งชื่อว่า WD 0816-310 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 63 ปีแสง และพบสัญญาณผิดปกติที่แสดงให้เห็นว่าดาวแคระขาวดวงนี้ดูดกินเศษชิ้นส่วนของดาวเคราะห์ที่โคจรรอบมัน สัญญาณนั้นก็คือร่องรอยเป็นโลหะบนพื้นผิวดาว นักดาราศาสตร์อธิบายว่า ดาวแคระขาวบางดวงที่ค่อยๆเย็นลง จะกลืนกินชิ้นส่วนของดาวเคราะห์บริวารของพวกมัน และตอนนี้นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบแล้วว่าสนามแม่เหล็กของดาวมีบทบาทสำคัญในกระบวนการนี้ ส่งผลให้เกิดรอยเหมือน “แผลเป็น” บนพื้นผิวดาวแคระขาว

ทั้งนี้ ดาวแคระขาว WD 0816-310 เป็นซากดาวฤกษ์ขนาดเท่าโลก ที่ครั้งหนึ่งเคยคล้ายดวงอาทิตย์ของเรา แต่มีขนาดใหญ่กว่า อดีตดาวฤกษ์ดวงนี้มีรอยดำที่เห็นได้ชัดเจนบนพื้นผิวอันเนื่องจากความเข้มข้นของโลหะ.

...

อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่