ในปี พ.ศ.2415 จูเลียส ฟอน ฮาสต์ ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์แคนเทอร์เบอรีในนิวซีแลนด์ ได้จ้างอเล็กซานเดอร์ แมคเคย์ นักธรณีวิทยาชาวสกอตแลนด์ สำรวจทางธรณีวิทยาและรวบรวมซากดึกดำบรรพ์หรือซากฟอสซิล หลังจากมีนักวิทยาศาสตร์และนักสำรวจสมัครเล่นค้นพบฟอสซิลสัตว์เลื้อยคลานในแหล่งธรณีวิทยาไวปารา ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเมืองแคนเทอร์เบอรี
แมคเคย์ประสบความสำเร็จในการรวบรวมโครงกระดูกสัตว์เลื้อยคลานทางทะเลหลายร้อยชิ้น และพบกระดูก 2 กลุ่มที่ค่อนข้างแปลก โดยเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์แคนเทอร์เบอรีนานกว่า 120 ปี จนกระทั่ง ปลายยุค 1990 มีการบิ่นหินออกเพื่อดูกระดูกข้างใน ก็พบว่าฟอสซิลนี้มีความโดดเด่นและคล้ายกับฟอสซิลเพลซิโอซอร์ (plesiosaur) ที่พบในอเมริกาใต้ จนถึงปี 2547 นักธรณี วิทยาจากพิพิธภัณฑ์แคนเทอร์เบอรี และผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์เลื้อยคลานทางทะเลจากชิลีและอาร์เจนตินานำเสนอว่า กระดูก 2 กลุ่มนี้แท้จริงแล้วคือกะโหลกทั้ง 2 ข้างของสัตว์ชนิดเดียวกัน และฟอสซิลที่พบในไวปาราส่วนใหญ่คล้ายกับเพลซิโอซอร์ที่พบเฉพาะในชิลีและอาร์เจนตินาเท่านั้น ชี้ถึงความเชื่อมโยงใกล้ชิดระหว่างฟอสซิลในนิวซีแลนด์กับฟอสซิลในอเมริกาใต้เมื่อ 70 ล้านปีก่อน
ซากฟอสซิลของพิพิธภัณฑ์แคนเทอร์เบอรีเหล่านี้ถูกตั้งชื่อว่า Alexandronectes zealandiensis เมื่อปี 2562 โฮเซ่ โอ’
กอร์แมน จากพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติลา ปลาตา ในอาร์เจนตินา ได้ใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทางการแพทย์สแกน ยืนยันราย ละเอียดใหม่ของการวางแนวของหู พบว่ามันรักษาท่วงท่าโดยที่ศีรษะมักจะตั้งฉากกับร่างกายหรืออยู่ต่ำกว่าร่างกายเพียงเล็กน้อย.
(Credit : Jose P. O'Gorman)