ดาวแคระน้ำตาล (Brown dwarfs) เป็นวัตถุทางดาราศาสตร์ที่มีมวลระหว่างดาวเคราะห์และดาวฤกษ์ แต่ยังเป็นที่ถกเถียงคือ ขีดจำกัดมวลของดาวแคระน้ำตาลนั้นอยู่ตรงไหน เพราะจริงๆแล้วลักษณะของดาวแคระน้ำตาลคล้ายกับดาวมวลต่ำมาก แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าค้นพบดาวแคระน้ำตาลหรือดาวมวลต่ำมาก

เมื่อเร็วๆนี้ ทีมวิจัยนานาชาตินำโดยนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเจนีวา ในสวิตเซอร์แลนด์ ได้ระบุว่า มี 5 วัตถุ คือ TOI-148, TOI-587, TOI-681, TOI-746 และ TOI-1213 ที่จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจธรรมชาติของดาวแคระน้ำตาล และทำไมจึงหายากมาก วัตถุทั้ง 5 ก็คล้ายกับดาวพฤหัสบดีหรือดาวเคราะห์ก๊าซขนาดยักษ์อื่นๆ ที่ส่วนใหญ่ประกอบด้วยไฮโดรเจนและฮีเลียม เนื่องจาก
พวกมันมีมวลมาก และแรงโน้มถ่วงของตนมีอานุภาพสูง อะตอมของไฮโดรเจนก็หลอมรวมเพื่อผลิตฮีเลียม จนปล่อยพลังงานและแสงออกมาอย่างมหาศาล แต่ดาวแคระน้ำตาลมีมวลไม่มากพอที่จะหลอมไฮโดรเจน จึงไม่อาจผลิตแสงและความร้อนได้ในปริมาณมหาศาล แต่กลับหลอมรวมดิวเทอเรียม (deuterium) เป็นไอโซโทปหนึ่งของธาตุไฮโดรเจน

ปัจจุบันมีการจำแนกดาวแคระน้ำตาลได้อย่างแม่นยำ เพียง 30 ดวงเท่านั้น เมื่อ
เทียบกับดาวเคราะห์หลายร้อยดวงที่รู้อย่างละเอียด อย่างไร ก็ตาม ดาวแคระน้ำตาลจะหดตัวเมื่อเวลาผ่านไป และเผาผลาญดิวเทอเรียมจนกระทั่งเย็นลง แต่มีการพบว่า 2 วัตถุที่เก่าแก่ที่สุดคือ TOI-148 และ TOI-746 มีรัศมีที่เล็กลงกว่าวัตถุอื่น พวกมันจึงดูจะเข้าข่ายเป็นดาวแคระน้ำตาล.

Credit : NASA / JPL