จำลองบรรยากาศของไททัน ในห้องทดลองบนโลก
จำลองบรรยากาศของไททัน ในห้องทดลองบนโลก
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
ดาวอังคารได้รับฉันทามติว่าเป็นดินแดนที่เหมาะต่อการค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลก แต่จริงๆแล้วยังมีดาวดวงอื่นที่นักดาราศาสตร์เชื่อว่าเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะจำนวนมากที่ถูกกำหนดให้เป็นดาวที่อยู่อาศัยได้ และดาวบริวารของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะของเรา ดาวบริวารเหล่านี้ปกคลุมด้วยน้ำแข็งจำนวนมาก ดังนั้น ก็อาจมีมหาสมุทรอยู่ข้างใต้และสามารถกักเก็บสิ่งมีชีวิตได้
ในหมู่ดาวบริวารที่ อยู่ในระบบสุริยะของเรา มีอยู่ดวงหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์ให้ความสนใจอย่างมาก นั่นคือดวงจันทร์ไททัน บริวารที่ใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์ซึ่งมีเคมีอินทรีย์ทุกชนิดเกิดขึ้นระหว่างชั้นบรรยากาศและพื้นผิว นักดาราศาสตร์สงสัยว่าชั้นบรรยากาศของไททันอาจให้เบาะแสสำคัญถึงช่วงแรกของวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตบนโลก หลายปีมานี้ ทีมวิจัยจากหลายสถาบันในยุโรป นำโดยศูนย์วิจัยไอบีเอ็ม ในนครซูริก สวิตเซอร์แลนด์ ได้ทำการทดลองในห้องปฏิบัติการกับโมเลกุลอินทรีย์ที่คล้ายคลึงกัน เรียกว่าโธลินส์ (tholins) คือสารประกอบอินทรีย์ที่มีคาร์บอนหลายชนิด ก่อตัวขึ้นเมื่อสัมผัสกับแสงอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ หรือรังสีคอสมิก โมเลกุลเหล่านี้มีอยู่ทั่วไปในระบบสุริยะชั้นนอกและโดยทั่วไปมักพบในวัตถุน้ำแข็ง ซึ่งชั้นผิวประกอบด้วยน้ำแข็ง มีเทน ที่สัมผัสกับรังสี การปรากฏตัวของโมเลกุลดังกล่าวบนพื้นผิวจะมีลักษณะแดงก่ำหรือเหมือนมีคราบสีซีเปีย
ข่าวแนะนำ
ทีมเผยว่าเป็นครั้งแรกที่เห็นโครงสร้างโมเลกุลของสารประกอบสังเคราะห์ ที่อาจจะทำให้เกิดหมอกควันสีส้มในชั้นบรรยากาศไททัน เครื่องมือนี้อาจช่วย วิเคราะห์วัตถุทางดาราศาสตร์ เช่น อุกกาบาต และอาจทำให้เข้าใจวงจรอุทกวิทยาที่ก๊าซมีเทนในชั้นบรรยากาศตกลงมาเป็นฝนมีเธนจนกลายเป็นทะเลสาบไฮโดรคาร์บอน.
(Credit : NASA)