ผ้าพันแผลเหมาะสำหรับปิดบาดแผล แต่จะมีประโยชน์มากขึ้นหากตรวจจับการติดเชื้อได้ แต่การสร้างผ้าพันแผลอัจฉริยะแบบนั้นเกิดขึ้นจริงแล้ว เมื่อทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยโรดไอส์แลนด์ ในสหรัฐอเมริกา คิดค้นวิธีการตรวจจับและเฝ้าติดตามการติดเชื้อในบาดแผลด้วยการฝังนาโนเซ็นเซอร์ไว้ในเส้นใยของผ้าพันแผล
นักวิจัยอธิบายว่าท่อนาโนคาร์บอนที่มีผนังด้านเดียวภายในผ้าพันแผลจะสามารถระบุการติดเชื้อในบาดแผลโดยการตรวจจับความเข้มข้นของไฮโดรเจน เปอร์ออกไซด์ (hydrogen peroxide) เป็นน้ำยาฆ่าเชื้อฤทธิ์อ่อนสำหรับใช้ป้องกันการติดเชื้อจากบาดแผล จากนั้นสัญญาณจะถูกส่งไปยังอุปกรณ์อย่างสมาร์ทโฟน ซึ่งจะแจ้งเตือนผู้ป่วยหรือบุคลากรทางการแพทย์โดยอัตโนมัติ เป้าหมายของการทำงานด้วยอุปกรณ์นี้ก็วินิจฉัยเท่านั้น โดยเฉพาะวินิจฉัยการติดเชื้อในระยะเริ่มต้น ซึ่งจะส่งผลให้ต้องใช้ยาปฏิชีวนะน้อยลงและป้องกันมาตรการที่รุนแรง เช่น การตัดแขน ตัดขา ซึ่งนับว่ามีประโยชน์อย่างยิ่งในผู้ป่วยเบาหวาน ที่ต้องจัดการกับแผลเรื้อรังเป็นประจำ
ทั้งนี้ ขั้นตอนต่อไปก็คือต้องตรวจสอบว่าผ้าพันแผลทำงานได้อย่างถูกต้องในจานเพาะเชื้อที่มีเซลล์เพาะเลี้ยงสิ่งมีชีวิตที่มักจะพบได้ในบาดแผล ก่อนที่นำไปทดลองกับหนูทดลองในโอกาสต่อไป อย่างไรก็ตาม การทดสอบเบื้องต้นเน้นไปที่ตัวอย่างผ้าพันแผลขนาดเล็ก แต่เทคโนโลยีนี้ก้าวข้ามข้อจำกัดเรื่องขนาด เพราะสามารถนำไปใช้กับผ้าพันแผลที่มีขนาดใหญ่กว่ามากได้อย่างง่ายดาย.
ภาพ Credit : Daniel Roxbury