นักวิจัยพบสารต้านปรสิตเชื้อรา จากฟาร์มของมด
นักวิจัยพบสารต้านปรสิตเชื้อรา จากฟาร์มของมด
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
มดเพาะรา (Attine ants) สืบทอดสายพันธุ์จากแถบอเมซอนเมื่อ 50 ล้านปีก่อน และมีวิวัฒนาการไปถึง 200 ชนิด ปัจจุบันแพร่กระจายการสร้างรังไปทั่วอเมริกาใต้และอเมริกากลาง เป็นมดที่ได้ชื่อว่าทำตัวเป็นเกษตรกรรู้จักทำฟาร์มไม่ต่างจากมนุษย์ ต่างกันแต่เพียงสิ่งที่พวกมดชนิดนี้ปลูกไว้เป็นอาหารก็คือเชื้อรา
เมื่อเร็วๆนี้มีงานวิจัยเผยแพร่ลงในวารสารสมาคมเคมีอเมริกัน ถึงการศึกษาแบคทีเรียจากรังมดในหลายพื้นที่ในประเทศบราซิล เพราะสิ่งที่น่าสนใจคือมดเพาะรา ไม่ได้ใช้ชุมชนจุลินทรีย์อย่างแบคทีเรียเพื่อปกป้องตัวเอง แต่จริงๆ แล้วพวกมันอาศัยแบคทีเรียเหล่านั้นมาปกป้องฟาร์มเชื้อราจากปรสิตเชื้อรา เช่น Escovopsis ที่เข้ามารุกรานผลิตผลของพวกมันนั่นเอง ทีมวิจัยพบว่าเกือบ 2 ใน 3 ของสายพันธุ์ของแบคทีเรีย Pseudonocardia ที่อยู่ในกลุ่มแอคติโนแบคทีเรีย (Actinobacteria) สามารถผลิตสารต้านและยับยั้งปรสิตเชื้อราในอาหารของมันอย่างมีศักยภาพ สารดังกล่าวมีชื่อว่า “แอททินิไมซิน” (Attinimicin) แอททินิไมซินมีความแตกต่างจากยาปฏิชีวนะหลายชนิดก็ตรงที่ไม่มีธาตุเหล็กเท่านั้น
ข่าวแนะนำ
นอกจากนี้ยังมีประสิทธิภาพในการต่อสู้กับการติดเชื้อ Candida albicans ในหนูด้วย ทั้งนี้ การค้นพบแอททินิไมซินถือเป็นครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์ระบุถึงสารประกอบในกระบวนการสร้างและสลาย ที่ใช้ร่วมกันโดยกลุ่มมดที่แตกต่างกันทางภูมิศาสตร์ และสารประกอบนี้อาจนำไปใช้ทางการแพทย์ได้.
ภาพ Credit : CCO Public Domain