(ภาพประกอบ)

จนท.ท้องถิ่นรัฐฟลอริดา อนุมัติโครงการนำร่อง ปล่อยยุงดัดแปลงพันธุกรรมมหาศาลถึง 750 ล้านตัว ที่ฟลอริดา คียส์ หวังช่วยในการควบคุมปริมาณยุงร้าย แม้จะถูกคัดค้านอย่างหนักจากชาวบ้านและกลุ่มอนุรักษ์

เมื่อ 21 ส.ค.63 สำนักข่าวบีบีซีและซีเอ็นเอ็น รายงาน คณะเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นในรัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา อนุมัติปล่อยยุงที่เกิดจากการดัดแปลงพันธุกรรม จำนวนมหาศาลถึง 750 ล้านตัว บนเกาะฟลอริดา คียส์ ในรัฐฟลอริดา ในปี ค.ศ.2021 และ 2022 เพื่อให้ได้ใช้ชีวิตตามธรรมชาติ ปะปนอยู่กับยุงทั่วไป เพื่อหวังจะให้ยุงดัดแปลงพันธุกรรมเหล่านี้ ช่วยลดปริมาณยุงร้าย ทั้งยุงลายที่เป็นพาหะของเชื้อไวรัสเดงกี ที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออก หรือไวรัสซิก้า (Zika virus) ที่ก่อให้เกิดโรคซิก้า

การอนุมัติของคณะเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นในรัฐฟลอริดา มีขึ้นหลังจากโครงการนี้ที่ถือเป็นโครงการนำร่อง ได้มีการถกเถียงและถูกคัดค้านโดยกลุ่มนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมทั้งประชาชนในพื้นที่จำนวนมาก ที่มีความเห็นว่าการปล่อยยุงดัดแปลงพันธุกรรมเหล่านี้สู่ธรรมชาติ อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายตามมาที่ไม่คาดคิดมาก่อน โดยมีกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติกลุ่มหนึ่งถึงกับประณามว่า โครงการนี้เหมือนกับการทดลอง ‘จูราสสิก พาร์ก’ ในที่สาธารณะ

เจ้าหน้าที่อินเดียฉีดยาฆ่ายุงในชุมชน
เจ้าหน้าที่อินเดียฉีดยาฆ่ายุงในชุมชน

...

ส่วนบรรดานักเคลื่อนไหวสิ่งแวดล้อมได้เตือนว่ายุงดัดแปลงพันธุกรรมเหล่านี้อาจสร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศ และมีศักยภาพที่จะก่อให้เกิดยุงลูกผสม ‘ไฮบริด’ ที่สามารถต้านยาฆ่าแมลงได้ในอนาคต

อย่างไรก็ตาม บริษัท Oxitec ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ในด้านพันธุวิศวกรรม ชี้ว่า ยุงดัดแปลงพันธุกรรมเหล่านี้จะไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อมนุษย์หรือสิ่งแวดล้อม พร้อมกับระบุว่าโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนเห็นชอบในระดับรัฐและรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกาแล้ว.

ที่มา : BBC ,CNN