พบฟอสซิลกิ้งก่าอเมริกาใต้ ที่เก่าแก่ที่สุด
พบฟอสซิลกิ้งก่าอเมริกาใต้ ที่เก่าแก่ที่สุด
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
ไดโนเสาร์จำนวนมากถูกค้นพบในแถบอเมริกาใต้ แต่การค้นพบสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็กก็สำคัญเช่นกัน เพราะจะช่วยให้นักวิจัยสามารถต่อเติมความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในยุคโบราณ ล่าสุด ผู้เชี่ยวชาญด้านชีววิทยาจาก Federal University of Minas Gerais (UFMG) รายงานการค้นพบซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลของกิ้งก่าสายพันธุ์ ใหม่ที่เคยมีชีวิตอยู่เมื่อกว่า 130 ล้านปีก่อน
ซากฟอสซิลนี้ถูกค้นพบทางตอนเหนือของรัฐมีนัสเชไรส์ในบราซิล กิ้งก่าชนิดนี้ได้รับการตั้งชื่อ ว่า Neokotus sanfranciscanus ขนาดตัวของมันเล็กๆความยาวประมาณ 10 เซนติเมตร จัดเป็นตัวแทนสัตว์ที่เก่าแก่ที่สุดของจำพวกสัตว์เลื้อยคลานในอันดับสควอมาตา (Squamata) ที่เคยพบในอเมริกาใต้ ซึ่งอันดับสควอมาตาคือกลุ่มสัตว์เลื้อยคลานที่ใหญ่ที่สุด สมาชิกในกลุ่มนี้มีทั้ง กิ้งก่า งู และสัตว์ในวงศ์ Amphisbaenians
ข่าวแนะนำ
ที่น่าสนใจก็คือการค้นพบดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าขนาดของกิ้งก่ามีการปรับขนาดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้อย่างน้อย 20 ล้านปีก่อน ซึ่งเร็วกว่าที่นักวิจัยคิดไว้ อีกทั้งยังแสดงให้เห็นว่าสัตว์ในอันดับสควอมาตาที่อาศัยในยุคต้นของอเมริกาใต้มีการกระจายตัวไปทั่วโลก.
(Credit ภาพ : Jonathas Bittencourt)