นักวิทย์เตือนสัญญาณหายนะสิ่งแวดลัอมโลก หลังทวีปอาร์กติก ที่ขั้วโลกเหนือ เจออุณหภูมิสูงทุบสถิติ ถึง 38 องศาเซลเซียส ชี้โลกมีอุณหภูมิอุ่นสุดในรอบอย่างน้อย 12,000 ปี

ฤดูหนาวที่อบอุ่นและฤดูใบไม้ผลิที่ร้อนระอุผิดแปลกไปจากวัฏจักรฤดูกาลของธรรมชาติ ส่งผลให้หิมะที่เคยปกคลุมพื้นดินในไซบีเรียละลายหายไปเร็วกว่าปกติ ทิ้งไว้เพียงแต่พื้นดินที่แห้ง ไม่เหลือร่องรอยของหิมะฤดูหนาว เมื่อวันที่ 20 มิถุนายนที่ผ่านมา เมือง Verkhoyansk ในเขตไซบีเรีย ของรัสเซีย อุณหภูมิพุ่งสูงแตะ 100.4 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 38 องศาเซลเซียส ทุบสถิติทั้งหมดที่เคยมีกลายเป็นอุณหภูมิที่สูงที่สุดในรอบ 100 ปี นำไปสู่การออกมาเตือนของนักนักอุตุนิยมวิทยาว่านี่คือสัญญาณหายนะของสิ่งแวดล้อมโลก

สภาพอากาศร้อนในช่วงฤดูร้อนไม่ใช่สิ่งใหม่ในทวีปอาร์กติก ที่ดวงอาทิตย์จะลับขอบฟ้าช้ากว่าที่เคย และส่องแสงลงมาบนพื้นดินเกือบ 24 ชั่วโมง แต่การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลกและสภาวะโลกร้อน ได้ส่งผลให้อุณหภูมิในทวีปอาร์กติกสูงกว่าทวีปอื่นๆ ของโลกถึง 2 เท่า ชี้ให้เห็นว่าปัญหาสภาพอากาศร้อนในทวีปอาร์กติกนั้นรวดเร็วกว่าทวีปอื่น โดยพบว่าอุณหภูมิในทวีปอาร์กติกสูงขึ้นเฉลี่ย 3 องศาเซลเซียส ในศตวรรษที่ผ่านมา เป็นสัญญาณเตือนว่าภัยโลกร้อนเพิ่มความรุนแรงขึ้นต่อเนื่อง

...

ด้าน รูธ มอทเทรม (Ruth Mottram) นักอุตุนิยมวิทยาจากเดนมาร์กระบุว่าถึงแม้ว่าเราจะคุ้นเคยกับการพูดถึงสภาวะโลกร้อนกันอยู่บ่อยๆ แต่ภัยร้ายกลับมาเร็วกว่าที่นักวิทยศาสตร์คาดการณ์เอาไว้มาก ซึ่งส่วนใหญ่ปฏิเสธไม่ได้ว่าเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของมนุษย์คนเมือง ที่ส่งผลให้มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สะสมในชั้นบรรยากาศโลก ทำให้การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ซึ่งภาพของธารน้ำแข็งที่ละลายไม่เว้นวัน เปรียบเสมือนการนับถอยหลังสู่หายนะทางธรรมชาติ 

ที่มา: