ทีมนักวิจัยด้านไวรัสวิทยาในสหรัฐฯ เผยผลงานการวิจัย พบการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19 อาจเพื่อทำให้สามารถจับกับเซลล์มนุษย์ได้ง่ายกว่าเดิมมากขึ้น จนมีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก ในสหรัฐฯ-ลาตินอเมริกา
เมื่อ 13 มิ.ย.63 สำนักข่าวซีเอ็นเอ็นรายงาน เหล่านักวิจัยที่สถาบันวิจัย Scripps (สคริปป์ส) ในรัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐฯ เชื่อว่า เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19 มีการกลายพันธุ์เพื่ออาจทำให้สามารถจับกับเซลล์ในร่างกายของมนุษย์ได้ง่ายมากขึ้นกว่าเดิม
ขณะเดียวกัน บรรดานักวิจัยเหล่านี้ระบุว่า การกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19 มีผลต่อโปรตีนที่ spike หรือหนามโปรตีนรอบเซลล์ของมัน ที่ใช้ในการจับกับเซลล์มนุษย์ ซึ่งหากมีการค้นคว้าเพื่อยืนยันในเรื่องนี้เพิ่มเติม จะถือเป็นครั้งแรกเลยก็ว่าได้ ที่มีการพบการเปลี่ยนแปลงที่มองเห็นได้ในเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่อย่างมีนัยสำคัญ อันส่งผลทำให้เกิดการระบาดรุนแรงมากขึ้น จนมีผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมากทั้งในสหรัฐอเมริกาและลาตินอเมริกา
‘ไวรัสที่มีการกลายพันธุ์นี้ทำให้สามารถจับกับเซลล์มนุษย์ได้มากกว่าระบบวัฒนธรรมของเซลล์ที่ไม่ได้กลายพันธุ์’ Hyeryun Choe นักไวรัสวิทยาที่สถาบันสคริปป์ส ซึ่งช่วยในการศึกษาวิจัยนี้ระบุในแถลงการณ์

...
ซีเอ็นเอ็นระบุว่า Choe และทีมนักวิจัย ได้ดำเนินการชุดการทดลองในจานปฏิบัติการในห้องแล็บ ที่แสดงให้เห็นว่าเชื้อไวรัสโควิด-19 มีการกลายพันธุ์ และตั้งชื่อเรียกว่า ‘D614G’ ซึ่งทำให้เชื้อโควิด-19 มีหนามโปรตีนมากขึ้น และหนามโปรตีนเหล่านี้ยังมีความมั่นคงมากขึ้น ซึ่งทำให้ง่ายต่อการจับเซลล์มากขึ้นกว่าเดิม
Choe และทีมนักวิจัย ได้โพสต์การค้นพบครั้งนี้ลงในเว็บไซต์ BioRxiv ที่เผยแพร่ผลงานการวิจัยก่อนตีพิมพ์ ซึ่งหมายถึงการวิจัยนี้ยังไม่ได้รับการตรวจทานโดยผู้เชี่ยวชาญในสาขานี้ อย่างไรก็ตาม Choe และทีมนักวิจัย ได้ส่งเปเปอร์ ผลงานวิจัยไปให้แก่ William Haseltine นักไวรัสวิทยา และยังเป็นผู้คิดค้นด้านไบโอเทคโนโลยี รวมทั้งดำรงตำแหน่งประธาน Access Health International โดย Haseltine เชื่อว่าการค้นพบครั้งนี้ของ Choe และทีมนักวิจัย ทำให้สามารถอธิบายได้ว่าทำไมเชื้อไวรัสโควิด-19 จึงมีการติดเชื้อกันได้ง่ายทั่วอเมริกา
‘งานวิจัยนี้มีความสำคัญ เพราะแสดงให้เห็นว่าไวรัสสามารถเปลี่ยนแปลง โดยเป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อเป็นฝ่ายได้เปรียบ และมีความเป็นไปได้ที่มนุษย์เรา ตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบ’ William Haseltine กล่าวกับซีเอ็นเอ็น
ที่มา : CNN