Credit : JPL/NASA
หลายปีก่อนมีโครงการสำรวจจุดที่ดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนโลกเมื่อ 66 ล้านปีที่แล้ว นั่นคือหลุมอุกกาบาตชิกซูลุบ (Chicxulub) ในเม็กซิโก นักวิทยาศาสตร์พบว่าชั้นบนรอบๆ หลุมอุกกาบาตแห่งนี้ในปัจจุบันมีน้ำปริมาณมากพอๆกับหินคาร์บอเนตที่มีรูพรุนและหินอีแวพอไรต์ (evaporite) ที่เกิดจากการระเหยของน้ำเค็มเข้มข้นสูง เมื่อหินเหล่านี้ถูกความร้อนและถูกรบกวนจากแรงกระแทกของดาวเคราะห์น้อย ก็จะสลายตัวและปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ซัลเฟอร์หรือกำมะถัน และไอน้ำจำนวนมหาศาลออกสู่ชั้นบรรยากาศ
กำมะถันจะเป็นอันตรายอย่างยิ่งเมื่อมันก่อตัวเป็นละอองอย่างรวดเร็ว อนุภาคเล็กๆนี้ปิดกั้นรังสีจากดวงอาทิตย์ ส่งผลให้หยุดสังเคราะห์แสงในพืช ทำให้สภาพอากาศเย็นลงอย่างรวดเร็ว สิ่งเหล่านี้มีส่วนทำให้เกิดเหตุการณ์สูญพันธุ์
ครั้งใหญ่ซึ่งกวาดล้างถึง 75% ของสิ่งมีชีวิตบนโลก เมื่อเร็วๆนี้ นักวิจัยจากอิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอนในอังกฤษ ได้ผสมผสานการจำลองผลกระทบเชิงตัวเลขและข้อมูลทางธรณีฟิสิกส์จากหลุมอุกกาบาต เพื่อสร้างเหตุการณ์จำลองในแบบ 3 มิติเป็นครั้งแรก
ผลจากแบบจำลองเผยว่า ดาวเคราะห์น้อยชนโลกที่มุม 60 องศา การชนในมุมที่แน่นอนนี้อันตรายและทำให้ปริมาณของก๊าซรวมถึงอนุภาคที่เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพิ่มปริมาณขึ้นสู่บรรยากาศชั้นบน จนนำไปสู่การสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตจำนวนมากรวมถึงไดโนเสาร์.