จักรวาลหรือเอกภพมีอายุ 13,800 ล้านปี สิ่งที่อาศัยอยู่ส่วนใหญ่คือดาราจักรหรือกาแล็กซี เช่น กาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา ที่ก่อตัวขึ้นทีละน้อยจนกลายเป็นมวลขนาดใหญ่ แต่เมื่อเร็วๆนี้กล้องโทรทรรศน์วิทยุช่วงคลื่นเป็นมิลลิเมตรขนาดใหญ่ที่สุดในโลก Atacama Large Millimeter / submillimeter Array (ALMA) ได้ค้นพบจานฝุ่นก๊าซหมุนรอบตัวขนาดใหญ่ ที่เกิดขึ้นเมื่อจักรวาลมีอายุเพียง 10% ของอายุปัจจุบัน ซึ่งเป็นช่วงที่น่าสนใจว่ารูปแบบดั้งเดิมของการก่อตัวกาแล็กซีเป็นอย่างไร
กาแล็กซีที่มีแผ่นจานนั้นมีชื่อว่า DLA0817g ชื่อเล่นคือ Wolfe Disk เป็นแผ่นจานกาแล็กซีที่หมุนอยู่ไกลที่สุดเท่าที่เคยพบมา ด้วยพลังของกล้อง ALMA อาจช่วยให้เห็นว่ากาแล็กซีนี้หมุนรอบตัว 272 กิโลเมตรต่อวินาทีคล้ายกับกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา การค้นพบ Wolfe Disk เป็นสิ่งที่ท้าทายต่อการจำลองกาแล็กซีหลายแห่ง ที่อาจทำนายกาแล็กซีขนาดใหญ่ไปจนถึงวิวัฒนาการของจักรวาล นักวิทยาศาสตร์คิดว่า Wolfe Disk เติบโตขึ้นนั้น ส่วนใหญ่ก็คือผ่านการสะสมก๊าซเย็นอย่างต่อเนื่อง แม้จะยังสงสัยเกี่ยวกับวิธีการรวมมวลก๊าซขนาดใหญ่ในขณะที่รักษาแผ่นจานให้หมุนได้ค่อนข้างมั่นคงก็ตาม
นอกจากนี้ ทีมยังใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุ Karl G. Jansky Very Large Array (VLA) ของ มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกาและกล้อง โทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล เรียนรู้เพิ่มเกี่ยวกับการก่อตัวดาวใน Wolfe Disk จนพบว่าอัตราการก่อตัวดาวฤกษ์ใน Wolfe Disk สูงกว่ากาแล็กซีทาง ช้างเผือกอย่างน้อย 10 เท่า ดังนั้น มันน่าจะเป็นหนึ่งในกาแล็กซีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในเอกภพยุคแรกๆ.
ภาพ : NRAO / AUI / NSF, S. Dagnello