Credit : University of Queensland

เป็นเวลาสิบปีที่ถ้ำในเมืองเมาท์ มอร์แกน รัฐควีนส์แลนด์ แห่งออสเตรเลีย เป็นที่รู้จักในเรื่องความหลากหลายของรอยเท้าไดโนเสาร์ที่อยู่บนเพดานถ้ำ นักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์คือ ดร.แอนโทนี โรมิลิโอ ประสบความสำเร็จในการค้นหาภาพของรอยเท้าไดโนเสาร์ที่แตกต่างกันในพื้นที่ดังกล่าว แต่ภาพถ่ายเก่าๆของถ้ำไดโนเสาร์แห่งนี้ ได้นำไปสู่การไขปริศนาพฤติกรรมไดโนเสาร์ในถิ่นออสซีที่แปลกใหม่

Credit : Dr Anthony Romilio
Credit : Dr Anthony Romilio

แม้จนถึงตอนนี้ จะยังไม่แน่ชัดว่าไดโนเสาร์ชนิดใดสร้างรอยเท้าเหล่านี้ไว้ หรือความหมายของแต่ละรอยเท้า ซึ่งรอยเท้าไดโนเสาร์ทั่วไปอาจดูคล้ายกับรอยเท้านก แต่รอยเท้าไดโนเสาร์ในถ้ำที่เมาท์ มอร์แกน มีรูปร่างเหมือนด้ามส้อมกว้างๆ เมื่อตรวจสอบเพิ่มเติม นักบรรพชีวินวิทยาเผยว่า ไดโนเสาร์จะต้องสร้างรอยเท้า ในขณะที่มันทำท่าหมอบ อยู่ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่แปลกมากและก็ยังไม่รู้ว่าทำไมมันถึงทำเช่นนั้น

...

ท่วงท่าที่ผิดปกตินี้ น่าจะทำให้สัตว์ยุคก่อนประวัติศาสตร์มีความมั่นคงมากขึ้น ทำให้สามารถข้ามฝั่งโคลนของทะเลสาบโบราณได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เมื่อแยกแยะพฤติกรรมและสะกดรอยตามรอยเท้าเหล่านี้ ก็สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นรอยเท้าของไดโนเสาร์ชนิดกินพืช ยืน 2 ขา ที่เรียกว่าออร์นิโธพอด (Ornithopods) นั่นเอง.