Credit : American Technion Society

ในปี พ.ศ.2549 ยานอวกาศนิว ฮอไรซันส์ ถูกส่งไปถ่ายภาพระยะใกล้ของพลูโตเป็นครั้งแรก รวมถึงศึกษาลักษณะและผืนดินเป็นการเดินทางที่ยาวนานถึง 9 ปี แต่การผจญภัยของยานไม่ได้จบแค่ดาวพลูโต เพราะยานได้เข้าไปสำรวจย่านแดนสนธยาที่อยู่นอกวงโคจรของดาวเนปจูน คือแถบไคเปอร์ (Kuiper Belt) เป็นที่อยู่ของวัตถุคล้ายดาวเคราะห์น้อยนับไม่ถ้วน ขนาดแตกต่างกันไป โดยวัตถุในแถบไคเปอร์มักจะมีลักษณะเป็นวัตถุน้ำแข็ง

Credit : NASA
Credit : NASA

ต่อมาในวันที่ 1 ม.ค.2562 ยานนิว ฮอไรซันส์ริซอนส์ก็มอบภาพแรกวัตถุแถบไคเปอร์ รูปร่างคล้ายตุ๊กตาหิมะ ถูกเรียกว่าอัลติมา ธูลี (Ultima Thule) ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น 486958 Arrokoth หรืออาร์โรคอธ แปลว่าท้องฟ้าหรือเมฆในภาษาของเผ่าพาวฮาทัน (Powhatan) เมื่อเร็วๆนี้ ทีมนักวิทยาศาสตร์จาก American Technion Society และมหาวิทยาลัยทือบิงเงิน ในเยอรมนี ได้อธิบายคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์ของอาร์โรคอธ โดยเชื่อว่าจะให้ความกระจ่างเกี่ยวกับการก่อตัวของวัตถุในแถบไคเปอร์ได้

...

ทีมได้ทำแบบจำลองรูปร่างของอาร์โรคอธ ที่เป็นวัตถุต่างขนาดประกบกัน เชื่อว่าวัตถุทั้ง 2 นี้ หมุนรอบกันและกัน แต่เนื่องจากพวกมันหมุนรอบดวงอาทิตย์ จึงกลายเป็นแบบ 3 ระบบ และการเปลี่ยนแปลงของระบบชนิดนี้ก็มีความซับซ้อน นักวิทยาศาสตร์เผยว่า อาร์โรคอธวิวัฒนาการมาจากการมีวงโคจรที่ค่อนข้างกว้างเป็นวงรี กระบวนการดังกล่าวนั้นแข็งแกร่งและเป็นไปได้ที่จะมีแนวโน้มพบวัตถุแบบนี้ได้บ่อยมากถึง 20% ในแถบไคเปอร์.