ตามการเคลื่อนไหวของโปรตีนในเซลล์สิ่งมีชีวิต
ตามการเคลื่อนไหวของโปรตีนในเซลล์สิ่งมีชีวิต
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
ภาพ : Richard Taylor
กล้องจุลทรรศน์ที่ใช้ในวิชาชีววิทยาระดับมัธยมอย่าง กล้องจุลทรรศน์แบบไบรท์ฟิลด์ (bright field microscope) เทคนิคของกล้องจุลทรรศน์ประเภทนี้ทำงานได้ง่ายที่สุด เมื่อแสงส่งผ่านตัวอย่างที่ใช้ศึกษาแล้ว เลนส์ก็จะขยายให้เห็นความแตกต่างของความหนาแน่นในตัวอย่างนั้นๆ ล่าสุดริชาร์ด เทย์เลอร์ นักวิจัยจากสถาบันมักซ์ พลังค์ และเพื่อนร่วมงานของเขาลองใช้ประโยชน์จากเทคนิคแสงที่กระจัดกระจายในการใช้กล้องจุลทรรศน์แบบไบรท์ฟิลด์
ข่าวแนะนำ
การใช้เทคนิคดังกล่าวก็เพื่อติดตามโมเลกุลระดับนาโนเมตรของโปรตีนแต่ละตัวในเซลล์สิ่งมีชีวิต เทคนิคกล้องจุลทรรศน์ที่ได้รับการพัฒนาใหม่เรียกว่า Interferometric Scattering Microscopy (iSCAT) จะช่วยให้การติดตามโปรตีนในแบบ 3 มิติทำได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะเห็นโปรตีนแต่ละตัวที่แปะอนุภาคนาโนทองคำ เคลื่อนไหวบนพื้นที่เยื่อหุ้มเซลล์ของสิ่งมีชีวิต รวมถึงยังเป็นการติดตามการเคลื่อนไหวของโปรตีนด้วยความเร็วขนาดไมโครวินาทีได้เป็นเวลานาน
การทดสอบครั้งแรกของเทคนิคนี้ ทีมวิจัยได้เลือกโปรตีนตัวหนึ่งที่เรียกว่า epidermal growth factor receptor (EGFR) มาทดสอบการติดตาม ซึ่งเซลล์จะกระจายสัญญาณออกไป แต่ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์และตำแหน่งที่อยู่ในเซลล์ที่นักวิจัยจะมองหา นอกจากนี้ ยังอาจมองเห็นชิ้นส่วนของเซลล์ที่เชื่อว่ามีอิทธิพลต่อวิธีการเคลื่อนไหวของโปรตีนด้วยเช่นกัน.