Credit : NASA/JPL-Caltech/R. Hurt (SSC-Caltech)
นักดาราศาสตร์อาจประหลาดใจกับขนาดของดาวเคราะห์อย่างดาวพฤหัสบดีหรือดาวเสาร์ ซึ่งจัดเป็นดาวก๊าซยักษ์ในระบบสุริยะของเรา เพื่อนบ้านทั้งคู่มีขนาดใหญ่กว่าโลกหลายร้อยเท่า นักดาราศาสตร์เคยอธิบายว่าดาวเคราะห์ก่อตัวขึ้นเนื่องจากแรงโน้มถ่วงซึ่งรวบรวมสสารมานานนับหลายล้านปี แต่ไม่ได้บอกว่าดาว เคราะห์จะใหญ่โตได้อย่างไร ล่าสุดมีรายงานการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบอีกดวงที่ทำให้นักดาราศาสตร์แปลกใจยิ่งขึ้น
ดาวเคราะห์นอกระบบที่ค้นพบใหม่มีชื่อ 2MASS 1155-7919 b ตั้งอยู่ในกลุ่มดาวที่เรียกว่า เอปไซลอน คาเมเลียนทิส (Epsilon Chamaeleontis) ใกล้กับกลุ่มดาวกิ้งก่าคาเมเลียน อยู่ห่างออกไป 330 ปีแสง กลุ่มนักดาราศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีโรเชสเตอร์ ในสหรัฐอเมริกา เผยว่าดาวเคราะห์นอกระบบดวงนี้มีอายุน้อยแต่ขนาดใหญ่กว่าดาวพฤหัสบดีถึง 10 เท่า โคจรรอบดาวฤกษ์ที่มีอายุเพียง 5 ล้านปีเศษ เรียกว่าเด็กกว่าดวงอาทิตย์ของเราถึง 1,000 เท่าเลยทีเดียว
ข้อมูลของดาวเคราะห์ 2MASS 1155-7919 b ถูกรวบรวมโดยหอสังเกตการณ์อวกาศกายอา (Gaia space observatory) ซึ่งนักดาราศาสตร์เผยว่า ดาวเคราะห์ดวงนี้ไม่เหมือนดวงอื่นๆ เนื่องจากมันมีอายุน้อยมากแต่กลับมีขนาดยักษ์ แน่นอนว่ายังมีความลึกลับมากมายเกี่ยวกับดาวเคราะห์นอกระบบยักษ์ดวงนี้ที่นักดาราศาสตร์ต้องค้นหาต่อไป.