โอไรอัน เอ (Orion A) เป็นเนบิวลาที่ก่อตัวดาวฤกษ์ อยู่ห่างจากโลกออกไปราว 1,350 ปีแสง เมื่อมองจากหอสังเกตการณ์อวกาศเฮอร์เชลขององค์การอวกาศยุโรป หรืออีเอสเอ ตั้งอยู่ในภูมิภาคที่เรียกว่าดาบของกลุ่มดาวนายพราน ประกอบด้วยดาวหลัก 3 ดวงที่ก่อตัวเป็นดาวฤกษ์ในกลุ่มดาวนายพราน เมื่อเร็วๆนี้ หอสังเกตการณ์เฮอร์เชลและหอสังเกตการณ์แพลงก์ เผยภาพดวงดาวก่อตัวขึ้นในกลุ่มเมฆก๊าซและฝุ่นที่มีขนาดยักษ์ แผ่กระจายเหมือนในกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา
วัตถุมากมายในโอไรอัน เอ สามารถสร้างดวงอาทิตย์นับหมื่นดวง สีต่างๆที่มองเห็นได้ที่นั่นบ่งบอกว่าแสงที่ปล่อยออกมาจากเม็ดฝุ่นระหว่างดวงดาว (Interstellar dust grains) ที่ลอยผสมอยู่ภายในก๊าซ เห็นได้จากภาพนี้ว่าพื้นที่ระหว่างดวงดาวนั้นไม่ได้ว่างเปล่า แต่เต็มไปด้วยมวลสารเย็นระหว่างดวงดาว (Interstellar Medium-ISM) ซึ่งเป็นก๊าซและฝุ่นที่ปะปนกัน เมื่อกลุ่มก้อนก๊าซและฝุ่นเหล่านี้หนาแน่นพอก็จะเริ่มยุบตัวลงภายใต้แรงโน้มถ่วงของตนเอง กลายเป็นร้อนขึ้น หนาแน่นขึ้น จนกระทั่งเกิดการสร้างดาวดวงใหม่
นักวิทยาศาสตร์เผยว่า แม่เหล็กเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของมวลสารระหว่างดวงดาวแทรกซึมเข้าไปในจักรวาลและมีส่วนช่วยให้เมฆของสสารรักษาความสมดุลที่ละเอียดอ่อนระหว่างความดันและแรงโน้มถ่วง จนในที่สุดก็นำไปสู่การเกิดของดวงดาวใหม่ๆ.
Credit : ESA/Herschel/Planck; J. D. Soler, MPIA