นักดาราศาสตร์เกิดความประหลาดใจหลังจากค้นพบระบบสุริยะห่างจากโลก 30 ปีแสง ซึ่งท้าทายความเข้าใจในปัจจุบันเกี่ยวกับการก่อตัวของดาวเคราะห์ เนื่องจากพบดาวเคราะห์ขนาดใหญ่คล้ายดาวพฤหัสโคจรรอบดาวฤกษ์ขนาดเล็ก

นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์จากสถาบันวิจัยอวกาศแห่งกาตาลุญญา แห่งสถาบันวิทยาศาสตร์อวกาศในสเปน เผยว่า ดาวฤกษ์ ชื่อ GJ 3512 มีมวลแค่ 12% ของดวงอาทิตย์ มีดาวเคราะห์ ที่โคจรรอบมีมวลอย่างน้อยราวๆครึ่งหนึ่งของดาวพฤหัสซึ่งเป็นดาวเคราะห์ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะของเรา การค้นพบนี้น่าประหลาดใจเพราะแบบจำลองการก่อตัวตามทฤษฎีชี้ให้เห็นว่าดาวมวลต่ำมักจะมีดาว เคราะห์ขนาดเล็กคล้ายกับโลกหรือดาวเนปจูนขนาดเล็กโคจรรอบ แต่ในระบบสุริยะดังกล่าวกลับพบดาวเคราะห์ก๊าซยักษ์คล้ายกับดาวพฤหัสโคจรรอบดาวฤกษ์ที่มีขนาดเล็กมาก และเดินทางรอบดาวฤกษ์ของตนในวงโคจรวงรีที่ยาวนานมากถึง 204 วัน

GJ 3512 เป็นดาวฤกษ์ขนาดเล็กมีอุณหภูมิพื้นผิวค่อนข้างต่ำ โดยเย็นกว่า 3,527 องศาเซลเซียสโดยประมาณ และนี่คือเหตุผลที่ถูกจัดเป็นดาวแคระแดง.