สีและลวดลายมีความสำคัญต่อการเข้าใจสิ่งมีชีวิต นิเวศ วิทยา สรีรวิทยา และพฤติกรรมของสัตว์ สีเหล่านี้เกิดขึ้นเมื่อแสงมีปฏิกิริยากับเม็ดสีและโครงสร้างของเนื้อเยื่อสัตว์ เม็ดสีในสัตว์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ได้แก่ เมลานิน, แคโรทีนอยด์, พอร์ไฟริน เธอริน, ฟลาวิน และ ซิตตาโคฟุลวิน (psittacofulvins) ซึ่งผลิตสีหลากหลายตั้งแต่ ดำ เทา เหลือง เหลืองส้มและเขียว
สีและลวดลายไดโนเสาร์ รวมถึงสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว สามารถบ่งบอกเกี่ยวกับสัตว์ชนิดนั้นได้มากมาย ล่าสุด ดร.ไมเคิล พิตต์แมน จากห้องปฏิบัติการบรรพชีวินวิทยาสัตว์มีกระดูกสันหลัง ภาควิชาวิทยาศาสตร์โลกแห่งมหาวิทยาลัยฮ่องกงและทีมวิจัย ได้ประเมินวิธีการฟื้นฟูสีซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิล (fossil) เพื่อเสนอกรอบการศึกษาใหม่ประกอบด้วย4ขั้นตอนหลักคือ จัดทำแผนที่ขอบ เขตสีและ ลวดลายที่เก็บรักษาอยู่ในซากฟอสซิล จากนั้น ค้นหาโครงสร้าง จุลภาคที่มีเม็ดสีโดยใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน และหากตรวจไม่พบสีที่มีเมลานินก็ให้ใช้เทคนิควิเคราะห์ทางเคมีระดับสูงเพื่อตรวจจับดัชนีชี้วัดทางชีวภาพของเม็ดสีอื่น สุดท้ายก็ใช้สีและลวดลายที่สร้างขึ้นใหม่เพื่อทดสอบสมมติฐานพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับสรีรวิทยา นิเวศวิทยา และพฤติกรรมของสัตว์
ทีมเผยว่า กรอบการศึกษาใหม่นี้จะเอาชนะความท้าทายที่ผ่านมา ซึ่งโดยรวมแล้วสัญลักษณ์ทางเคมีของเม็ดสีจะแตกต่างกันด้านรายละเอียดทั้งทางกายวิภาคขนาดใหญ่และขนาดเล็กที่มองเห็นได้ในซากฟอสซิล.
Credit : HKU MOOC / Julius T Csotonyi / Michael Pittman