สหรัฐฯ เตรียมเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากสหภาพยุโรปมูลค่ารวม 7,500 ดอลลาร์สหรัฐฯ จากความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ กับ EU เรื่องการจ่ายเงินอุดหนุนให้บริษัท แอร์บัส กับ โบอิ้ง ที่ดำเนินมา 15 ปีแล้ว

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อ 2 ต.ค. 2562 ว่า สหรัฐฯ เตรียมตั้งเก็บสินค้านำเข้าจากสหภาพยุโรป (EU) ตั้งแต่เครื่องบินไปจนถึงผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร มูลค่ารวม 7,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หลังองค์กรการค้าโลก (WTO) มีคำตัดสินว่า สหรัฐฯ สามารถตั้งภาษีสินค้าจาก EU ได้ เพราะสหภาพยุโรปล้มเหลวในการทำตามคำตัดสินของพวกเขาในเรื่องการจ่ายเงินอุดหนุนบริษัท แอร์บัส อย่างผิดกฎหมาย

เจ้าหน้าที่กระทรวงพาณิชย์จองสหรัฐฯ ระบุว่า มาตรการตั้งกำแพงภาษีดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 18 ต.ค. นี้ โดยตั้งภาษี 10% แก่สินค้าประเภทเครื่องบิน และ 25% กับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและอุตสาหกรรมอื่นๆ

ขณะที่ตอนนี้ ทั้งสองฝ่ายกำลังรอคำตัดสินจาก WTO ว่าสหภาพยุโรปสามารถตั้งกำแพงภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ ประเภทใดได้บ้าง เพื่อลงโทษที่สหรัฐฯ จ่ายเงินอุดหนุนบริษัท โบอิ้ง อย่างผิดกฎหมาย ซึ่งคาดว่าจะมีคำตัดสินในปีหน้า โดยคณะกรรมาธิการยุโรป ยังหวังว่าทั้งสองฝ่ายจะตกลงกันได้

ทั้งนี้ ความขัดแย้งเรื่องการจ่ายเงินอุดหนุนแอร์บัสกับโบอิ้งครั้งนี้ เริ่มขึ้นตั้งแต่สหรัฐฯ ยื่นฟ้องร้องในปี 2547 กล่าวหาว่า สหภาพยุโรปให้แอร์บัสกู้เงินดอกเบี้ยถูกก็เหมือนกับเป็นการจ่ายเงินอุดหนุนอย่างผิดกฎหมาย ทำให้ EU ฟ้องร้องข้อหาเดียวกันต่อบริษัท โบอิ้ง ซึ่งในปี 2553 และ 2554 WTO ตัดสินว่า ทั้งแอร์บัสและโบอิ้งรับเงินช่วยเหลืออย่างผิดกฎหมายทั้งคู่ แต่ปัญหายืดเยื้อมาจนถึงตอนนี้ เนื่องจากทั้งสองฝ่ายต่างกล่าวหาอีกฝ่ายว่ายังไม่หยุดจ่ายเงินอุดหนุนให้โบอิ้งกับแอร์บัส

...

ในเบื้องต้น สหรัฐฯ ตั้งใจจะตั้งกำแพงภาษีสินค้าจาก EU มูลค่า 11,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ WTO ให้ลดลงเหลือ 7,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ