(Credit : Jeff Fitlow/Rice University)
แอมีลอยด์พลาก (amyloid plaques) ถูกสงสัยมานานแล้วว่าเป็นต้นเหตุของโรคอัลไซเมอร์ แต่จากการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้จากนักวิจัยของมหาวิทยาลัยไรซ์ ในสหรัฐอเมริกา ชี้ให้เห็นว่าโอลิโกเมอร์ (Oligomers) ซึ่งเป็นสายโซ่โมเลกุลที่ลอยอยู่กับหน่วยเปปไทด์ซ้ำไปซ้ำมาถูกทำให้เสียหายมากขึ้น โอลิโกเมอร์ที่ละลายน้ำได้เป็นสาเหตุหลักของการเสื่อมของเซลล์ประสาท เพราะโอลิโกเมอร์เหล่านี้เป็นพิษต่อเซลล์ประสาท
นักวิจัยเผยว่าโอลิโกเมอร์ดังกล่าวเกี่ยวข้องกับพยาธิวิทยาของโรคอัลไซเมอร์อย่างแน่นอน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาอย่างรอบด้าน ทีมจึงได้พัฒนาเครื่องมือเรืองแสงโดยใช้ธาตุรูทีเนียม (ruthenium) ที่สามารถติดตามการก่อตัวของแอมีลอยด์ เบต้า เปปไทด์ (Amyloid Beta Peptides) เป็นสายเปปไทด์ที่เป็นองค์ประกอบหลักของแอมีลอยด์พลาก ที่ละลายได้และเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคอัลไซเมอร์ เมื่อเปปไทด์มารวมกันเพื่อสร้างโมเลกุลขนาดใหญ่ที่เรียกว่าโอลิโกเมอร์ สารเรืองแสงก็จะจับติดที่โมเลกุล
วิธีการนี้จะช่วยให้นักวิจัยสามารถติดตามความคืบหน้าการเคลื่อนไหว และการแพร่กระจายของมวลรวมโอลิโกเมอร์ได้ง่ายขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป อย่างไรก็ตาม ธาตุรูทีเนียมนั้นมีไว้สำหรับใช้ในห้องปฏิบัติการเท่านั้น และยากจะใช้สิ่งเหล่านี้ในสมองเพราะมีการกระจายของแสงมากเกินไป.