(ภาพประกอบดาวหาง)
นักดาราศาสตร์สมัครเล่นชาวยูเครนพบวัตถุในห้วงอวกาศ ที่อาจมาจากสุริยะอื่นมาเยือนอีกแล้ว ถือเป็นครั้งที่ 2 ต่อจากอูมัวมัว แต่ขนาดใหญ่กว่ามาก และแสงสว่างเจิดจ้า ตั้งชื่อดาวหาง C/2019 QA
เมื่อ 13 ก.ย.62 สำนักข่าวบีบีซี รายงาน เกนเนดี้ โบริซอฟ (Gennedy Borisov) นักดาราศาสตร์มือสมัครเล่นชาวยูเครนพบ วัตถุที่อาจมาจากนอกระบบสุริยะจักรวาลของเราอีกครั้ง เคลื่อนที่เร็วมาก และถ้าบรรดานักดาราศาสตร์ตรวจสอบยืนยันว่า‘ใช่’ จะนับเป็นวัตถุระหว่างดวงดาว (interstella object) ดวงที่ 2 ต่อจาก วัตถุแรกที่มาจากสุริยะอื่นมีลักษณะเป็นแท่งหินคล้ายซิการ์ ซึ่งทีมนักดาาสตร์ที่ฮาวาย พบครั้งแรกเมื่อ 19 ต.ค. 60 และตั้งชื่อว่า ‘อูมัวมัว’ (Oumuamua)

...
ศูนย์ Minor Planet Center (ไมเนอร์ แพลเน็ต เซ็นเตอร์) ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐฯ ได้ประกาศการพบวัตถุระหว่างดวงดาวดวงที่ 2 อย่างเป็นทางการ ซึ่งตอนแรก ได้ถูกตั้งชื่อว่า gb00234 แต่ตอนนี้ มีชื่อว่า Comet C/2019 QA (Borisov) หรือดาวหาง C/2019 QA (โบริซอฟ) โดยดาวหางดวงนี้ มีขนาดใหญ่กว่า อูมัวมัวมาก เพราะมีความกว้างถึง 20 กม. และมีความสว่างเจิดจ้า

สำหรับรูปลักษณะของ ดาวหาง C/2019 QA ดูเหมือนมีวงโคจรเป็นรูปพาราโบลา และสิ่งที่บ่งชี้ว่ามันเป็นดาวหางที่มาจากระบบสุริยะอื่น เนื่องจากวงโคจรรูปพาราโบลาของดาวหาง C/2019 QA เป็นสิ่งหนึ่งที่แปลกแตกต่างไปจากวงโคจรที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งมีค่าวงโคจร (eccentricity)ที่ 0 ในขณะที่วงโคจรของดาวเคราะห์ รวมทั้งดาวเคราะห์น้อยจำนวนมาก มีค่าวงโจรอยู่ระหว่าง 0 และ 1 แต่ดาวหาง C/2019 QA มีค่าวงโคจรอยู่ที่ 3.2 ซึ่งค่านี้คิดจากการการสังเกตการณ์ในปัจจุบัน
ทั้งนี้ เกนเนดี้ โบริซอฟ นักดาราศาสตร์มือสมัครเล่น ได้พบดาวหาง C/2019 ที่หอดูดาวไครเมียน แอสโตฟิซิคอล ในเมือง Bakhchysarai บนคาบสมุทรไครเมีย เมื่อวันที่ 30 ส.ค.ที่ผ่านมา ขณะที่บรรดานักดาราศาสตร์ทั่วโลกกำลังช่วยกันตรวจสอบว่าใช่วัตถุระหว่างดวงดาวจากสุริยะอื่นหรือไม่
ข่าวเกี่ยวข้อง