Credit : Carl Knox, OzGrav ARC Center of Excellence

ดาวนิวตรอนและหลุมดำถือเป็นซากดาวฤกษ์ที่มีความทึบมัวหนาแน่นที่สุด เป็นวัตถุในจักรวาลที่นักวิทยาศาสตร์และนักดาราศาสตร์ให้ความสนใจศึกษาอย่างมาก เมื่อเร็วๆนี้ นักวิทยาศาสตร์จากวิทยาลัยฟิสิกส์แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ได้รายงานการค้นพบที่น่าทึ่ง นั่นคือการตรวจพบหลุมดำกลืนกินดาวนิวตรอนได้เป็นครั้งแรก

หลังจากเครื่องมือตรวจจับคลื่นความโน้มถ่วงในสหรัฐอเมริกาและอิตาลี ได้ตรวจพบระลอกคลื่นในอวกาศ ซึ่งมาจากพื้นที่ที่หลุมดำมีการเขมือบกินดาวนิวตรอน เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นห่างจากโลกของเราไปสุดแสนไกล ประมาณ 8,550,000,000 ล้านล้านกิโลเมตร นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่าหลุมดำแห่งนั้นได้กลืนกินดาวนิวตรอนเมื่อประมาณ 900
ล้านปีที่แล้ว แต่ยังไม่แน่ชัดเกี่ยวกับขนาดของวัตถุทั้งคู่ และยังคงต้องวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อยืนยันขนาดที่แน่นอนของวัตถุทั้งสองต่อไป

นักวิทยาศาสตร์เผยว่า ไม่เคยตรวจพบหลุมดำที่เล็กกว่ามวลของดวงอาทิตย์ถึง 5 เท่าหรือดาวนิวตรอนที่มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ราว 2.5 เท่ามาก่อน แต่จากการตรวจพบนี้ก็มั่นใจมากว่าเป็นการพบหลุมดำกลืนกินดาวนิวตรอน อย่างไร ก็ตาม ก็มีข้อสันนิษฐานอื่นๆที่อาจมีความเป็นไป ได้เล็กน้อยทว่าก็น่าสนใจ นั่นคือวัตถุที่ถูกกลืนหายไปนั้นอาจเป็นหลุมดำที่เบามากนั่นเอง.