Credit : University of North Carolina at Chapel Hill

เป็นเวลาถึง 9 ปี ที่ ศ.โจดี แม็กเนสส์ ผู้เชี่ยวชาญศาสนวิทยาด้านศาสนายูดาห์ รวมถึงทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยนอร์ท แคโรไลนา ในสหรัฐอเมริกา ที่มุ่งศึกษาหมู่บ้านโบราณฮักกก (Huqoq) ทางตอนล่างของเขตกาลิลี ในอิสราเอล ได้รายงานการค้นพบกระเบื้องโมเสกอายุ 1,600 ปี ที่อาจไขความกระจ่างเกี่ยวกับศาสนายูดาห์โบราณ

ซากเหลืออยู่ของโบสถ์โรมันยุคปลาย ทำให้ได้พบงานศิลปะที่ทำจากก้อนหินเล็กๆ หรือ กระจกสีโมเสก ที่บ่งชี้ถึงชุมชนชาวยิวในศตวรรษที่ 5 ทีมเผยว่าครั้งแรกที่พบชิ้นงานโมเสกซึ่งถ่ายทอดบทที่ 7 ของพระธรรมแดเนียล (Book of Daniel) กล่าวถึงสัตว์ 4 ชนิดที่เป็นตัวแทนของ 4 อาณาจักรจนนำไปสู่วันที่พระเจ้าจะพิพากษา และพบส่วนที่ 2 คือโมเสกที่ศิลปินถ่ายทอดตอนหนึ่งของ “หนังสืออพยพ” (Exodus) ที่ระบุได้ว่าเป็น Exodus 15 : 27 กล่าวถึงชาวอิสราเอลตั้งค่ายใกล้ตำบลเอลิม (Elim) หลังจากออกจากอียิปต์และพเนจรไปในถิ่นทุรกันดารที่ปราศจากน้ำ

นักวิจัยเผยว่าเรื่องในพระธรรมแดเนียลมีความน่าสนใจเพราะชี้ไปที่วันโลกาวินาศ ส่วนใน Exodus 15 : 27 แม้จะเป็นตอนที่ค่อนข้างน้อยเกี่ยวกับการพเนจรในทะเลทรายของชาวอิสราเอล แต่ก็ทำให้เกิดคำถามว่าทำไมการชุมนุมของชาวยิวจึงมีความสำคัญในเขตกาลิลีตอนล่าง ซึ่งศิลปะเหล่านี้อาจช่วยให้นักโบราณคดีเติมเต็มช่องว่างประวัติศาสตร์ของศาสนายูดาห์ช่วงศตวรรษที่ 4-6 ได้.

...